• โทร: 02 559 0155

เสริมหน้าผาก

          หน้าผากเป็นส่วนสำคัญมากของใบหน้าส่วนบน การที่มีหน้าผากโหนกนูน โค้งมนได้สัดส่วนพอเหมาะ จะทำให้ใบหน้าสวยงาม อ่อนหวานมีเสน่ห์กับผู้พบเห็น สมัยก่อนนิยมฉีดซิลิโคน หรือสารเติมเต็มอื่น ๆ ซึ่งระยะยาว มีผลแทรกซ้อนตามมา  เนื่องจากซิลิโคนที่ฉีดเข้าไป จะไหลลงมาที่ตา แก้ม ขมับ ทำให้ใบหน้าผิดรูปร่าง แก้ไขได้ยาก เพราะซิลิโคนถูกซึมไปตามเนื้อเยื่อ ทำให้การไหลเวียนของเลือด และน้ำเหลืองไม่ดี   สำหรับผู้ที่หน้าผากแคบหรือแบนเกินไป การทำศัลยกรรมเสริมหน้าผาก จะช่วยให้หน้าผากดูอวบอิ่ม โค้งมนกลมกลืนได้สัดส่วน สวยงาม และไม่มีอันตรายในระยะยาว

 

การทำศัลยกรรมหน้าผาก ประกอบด้วย

  • การเสริมหน้าผาก
  • การกรอหน้าผาก
  • การยุบหน้าผาก

 

วัสดุที่ใช้เสริมหน้าผากมีหลายชนิด ที่นิยมใช้มีดังนี้

  1. ฉีดไขมัน Fat Transfer
  2. Bone cement
  3. E-PTFE
  4. แผ่น ซิลิโคน Silicone Implant
  5. Customized PMMA เป็น วัสดุแบบเดียวกับBone cement แต่หล่อสำเร็จรูปออกมา เพื่อให้เหมาะกับแต่ละบุคคลเท่านั้น

 

ภาพที่ 1. ก่อนเสริมหน้าผาก

ภาพที่ 2. หลังเสริมหน้าผาก

 

เทคนิคการศัลยกรรมเสริมหน้าผาก

การเสริมหน้าผาก เพื่อแก้ไขหน้าผากที่แบนและกว้าง ให้โค้งโหนกนูนสวยงามอ่อนหวานแบบผู้หญิงมีหลายวิธีดังนี้

1. การฉีดไขมัน

          ศัลยแพทย์จะดูดไขมันจากส่วนต่างๆของร่างกาย มาปั่นแยกเซลล์ไขมันเพื่อฉีดเข้าไปที่หน้าผากแล้วปรับแต่งรูปทรงหน้าผากให้อูมอิ่ม และโค้งมน การฉีดไขมัน ทำได้ภายใต้การฉีดยาชา ข้อเสียของการฉีดไขมัน คือ ไขมันที่ฉีดไป จะสลายไปบางส่วนภายในเวลา 1-2 ปี ทำให้ต้องฉีดเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการฉีดไขมันคือ  ไม่มีแผล หรือแผลเป็นน้อยมาก

2. Bone Cement

          เป็นวัสดุตัวหนึ่งที่ใช้มานาน  เป็นสารชื่อ โพลี่เมทิลเมทตาไซเลท หรือ PMMA เป็นสารที่ไม่ระคายเคือง หรือ เป็นอันตรายกับร่างกาย ศัลยแพทย์ชอบใช้ เพราะสามารถปรับสร้างรูปทรงได้ง่าย เวลาที่ใช้ผ่าตัดประมาณ 2-3 ชั่วโมง

3. แผ่นซิลิโคน

          ที่เป็นแผ่นบางๆ แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะ ไม่ค่อยยืดหยุ่น ปรับรูปทรงให้โค้งไปกับแนวหน้าผากได้ยากไม่เหมือนกับ Bone Cement หรือ ePTFE ศัลยแพทย์จะเปิดแผล เป็นแนวจาก เหนือหู ข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง หลังไรผมจากนั้นใส่แผ่นซิลิโคนให้แนบไปกับหน้าผาก เสร็จแล้วเย็บปิดแผล การผ่าตัดเสริมหน้าผากด้วยซิลิโคน แบบนี้ อาจจะเกิดแผลเป็นยาว  อาจจะเกิดอาการชาหลังผ่าตัด นาน 3-6 เดือน

4. e-PTFE (Gore-Tex)

          เป็นวัสดุ ชนิดหนึ่ง ที่ใช้กันมานาน ใช้เป็นเส้นหลอดเลือดเทียม ต่อมาเอามาดัดแปลงเป็นวัสดุที่ใช้เสริมแทนซิลิโคนที่ใช้มานาน e-PTFE (Gore-Tex) มีลักษณะเป็นรูพรุน สามารถให้เนื้อเยื่องอกแทรกไปตามรูพรุนทำให้ วัสดุยึดเกาะติดตำแหน่งได้ดี  เป็นวัสดุที่นิ่ม เหนียว มีความยืดหยุ่นดี สามารถปรับรูปทรง โค้งไปตามรูปหน้าผากได้ดี  ที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลจึงนิยมใช้ แผ่น ePTFE นี้

5. Customized PMMA

          เป็นวัสดุที่ถูกทำขึ้นมาให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละคน เป็นวัสดุเดียวกับ Bone Cement ที่ใช้มานานไม่ระคายเคือง ไม่แพ้ เมื่อทำขนาดและรูปทรงตามต้องการ ไม่เสียเวลาในการปรับแต่งรูปทรง สามารถแก้ไขความผิดปกติของใบหน้าที่กระดูกบางส่วนหายไป ผลจาก เอ๊กเรย์ 3 D ทำให้หล่อแผ่นวัสดุในขนาดและรูปทรงที่ต้องการอย่างพอดี การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ มีข้อดีคือ ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยลง โดยมีขนาดและรูปทรงพอดีกับที่ต้องการ ลดความเสี่ยงจากการไม่สมดุลของใบหน้าด้วย

 

ขั้นตอนการผ่าตัดเสริมหน้าผาก

  • โดยทั่วไปต้องดมยาสลบ
  • เปิดแผลหลังไรผม 1-2 เซนติเมตรโดยไม่ต้องโกนผม แล้วเปิดเลาะ หนังศรีษะจนถึงโหนกคิ้ว แล้วใส่วัสดุที่เสริมลงไปให้ครอบคลุมหน้าผาก แล้วเย็บปิดแผล

การผ่าตัดใช้เวลา ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นใช้ผ้ายืด รัดหน้าผาก

 

การดูแลหลังผ่าตัดเสริมหน้าผาก

  • นอนหมอนสูง อย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ หลังผ่าตัด จะช่วยให้ยุบบวมได้เร็วขึ้น
  • อาการปวด หลังผ่าตัด ให้รับประทานยาแก้ปวด
  • งดการออกกำลังกาย 3-4 อาทิตย์หลังการผ่าตัด
  • ผลการผ่าตัด จะเห็นผลชัดเจน 1 เดือนหลังการผ่าตัด การยุบบวมต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน
  • ทำแผลให้สะอาดทุกวัน ทาเบตาดีน หลังผ่าตัด 2 วัน สระผมเบา ๆ ด้วยแชมพูเด็กอ่อน ไม่เกาหนังศีรษะ เป่าผมให้แห้ง
  •  10 วันตัดไหม สามารถกลับไปทำงานตามปกติได้หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์
  • มาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

 

ความเสี่ยง และ ผลแทรกซ้อนจากการเสริมหน้าผาก

          การเสริมหน้าผาก เพื่อให้หน้าผากโค้งโหนกนูน สวยงามมีหลายวิธีดังที่กล่าวข้างต้น  นอกจากนั้นศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผ่าตัดเสริมหน้าผาก ก็จะช่วยให้ปัญหาผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด และ ความเสี่ยงก็จะน้อยลง ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด เลือดออก แผลบวมแดง การเคลื่อนผิดตำแหน่งของวัสดุที่เสริม แผลเป็น และผลข้างเคียงจากการดมยา   

 

 
 
 
 

World-Class Services