เสริมหน้าอก ชายเป็นหญิง (Feminine Breast Augmentation)
การผ่าตัดเสริมหน้าอก เป็นการผ่าตัดพื้นฐานของของศัลยแพทย์ตกแต่งทั่วไป แต่การผ่าตัดเสริมหน้าอกให้สวยงามของ ผู้ที่ต้องเกิดมาเป็นผู้ชายนั้นเป็นการผ่าตัดที่ยากกว่ามาก เนื่องจากความแตกต่างในโครงสร้างของทรวงอกที่แบนราบ เห็นแต่กระดูกซี่โครงและกล้ามเนื้อชัดเจน ขนาดของ หัวนม และปานนมมีขนาดเล็ก ไม่ได้อยู่กึ่งกลางของทรวงอก อยู่ค่อนไปทางด้านข้าง 1/3 ของความกว้าง ทรวงอก
ดังนั้นก่อนการเสริมหน้าอก ต้องมีการเตรียมตัว โดยการรับฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) อย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป เพื่อให้มีการกระตุ้นต่อมน้ำนมให้เติบโตขึ้นบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม การรับฮอร์โมนเพศหญิง ไม่สามารถทำให้หน้าอกมีขนาดใหญ่เท่าที่ต้องการได้ จึงจำเป็นที่จะต้องเสริมหน้าอกเพื่อให้มีขนาดและรูปทรงเหมือนธรรมชาติ การเสริมหน้าอก ชายเป็นหญิง ศัลยแพทย์จะต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเพราะกล้ามเนื้อหน้าอกของชายจะแข็งแรงมากกว่าผู้หญิงแท้ๆ การจัดทรงทำได้ยากกว่า ประกอบกับการมีไหล่กว้างกว่า และตำแหน่งของหัวนมผู้ชายไม่ได้อยู่กึ่งกลาง จะค่อนไปทางด้านข้างมากกว่า
รูปที่ 1. รูปแสดงความแตกต่างของขนาดและตำแหน่งหัวนม/ปานนม ของชายและหญิง
เทคนิคการผ่าตัด และประสบการณ์ของศัลยแพทย์ จะช่วยสร้างความสมดุลระหว่างการเกิดร่องอก และตำแหน่งของหัวนม โดยต้องไม่ออกไปด้านข้างมากเกินไป จึงจะได้รูปทรงที่สวยงาม ขณะเดียวกันการเลือกขนาดและแบบชนิดของซิลิโคน (High Profile, Medium Profile Implants) ให้เหมาะสมกับความกว้างของไหล่ และตำแหน่งของหัวนม ก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำให้ได้เต้านมที่สวยงามและเหมาะสมกับรูปร่าง
รูปที่ 2. แสดงตำแหน่งแผลผ่าตัดของเต้านมเทียม
ตำแหน่งแผลการผ่าตัดเสริมหน้าอกมี 3 แบบ คือ
- แผลปานนม
- แผลใต้รักแร้
- แผลใต้ราวนม
การผ่าตัดวางตำแหน่งของเต้านมเทียม มี 3 แบบ
1. ตำแหน่งของเต้านมเทียมอยู่ที่ ใต้เนื้อนม
2. ตำแหน่งของเต้านมเทียมอยู่ที่ ใต้กล้ามเนื้อ
3. ตำแหน่งของเต้านมเทียมบางส่วนอยู่ใต้เนื้อนม บางส่วนอยู่ใต้กล้ามเนื้อ
รูปที่ 3. แสดงตำแหน่งของเต้านมเทียม ในการเสริมหน้าอก
คุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมหน้าอกชายเป็นหญิง
1. รับฮอร์โมนเพศหญิงมาอย่างน้อย 1 ปี
2. มีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง
3. มีความคาดหวังในความเป็นจริง
4. มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
การเตรียมตัวก่อน เสริมหน้าอก ชายเป็นหญิง มีดังนี้
1. ปรึกษาศัลยแพทย์ที่จะผ่าตัด พร้อมตรวจร่างกาย Chest x ray, ตรวจเลือด ตรวจ EKG, Stress test ถ้าอายุเกิน 40 ปี ปรึกษาแพทย์เลือกขนาดและรูปทรงที่เหมาะสมของเต้านมเทียม
2. หยุดฮอร์โมน 1-2 อาทิตย์
3. หยุดยาจำพวกแอสไพริน ยาลดอาการอักเสบ หรือสมุนไพร ที่อาจจะทำให้เลือดออกผิดปกติ หยุดยาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือตามแพทย์สั่ง
4.หยุดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อลดโอกาสเกิดเลือดไปเลี้ยงแผลไม่ดี
การเสริมหน้าอก เป็นการผ่าตัดด้วยการใช้ซิลิโคนโดยศัลยแพทย์ มีวิธีการเปิดแผลใต้ราวเต้านม เปิดแผลบริเวณปานนม โดยการวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ แม้ว่าการเสริมเต้านมในสาวประเภทสองและผู้หญิงทั่วไปมีวิธีการผ่าตัดที่ไม่แตกต่างกันนัก แต่ลักษณะทางกายภาพนั้นแตกต่างกัน เนื้อของสาวประเภทสองนั้นจะมีลักษณะเนื้อที่ตึงและมีไขมันน้อยกว่าผู้หญิง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของการเสริมเต้านมให้เหมือนผู้หญิง การมีเทคนิคทางเลือกที่หลากหลายจึงเกิดขึ้นในการศัลยกรรมเต้านมเพื่อให้เหมาะกับต้องการของแต่ละบุคคล ผู้ที่ผ่าตัดควรทราบว่าศัลยกรรมการเสริมเต้านมชายเป็นหญิงไม่สามารถเลียนแบบเต้านมผู้หญิงได้สมบูรณ์แบบ
วิธีการผ่าตัดเสริมหน้าอก ชายเป็นหญิง
1. ดมยาสลบ
2. เปิดแผลตามตำแหน่งที่เลือกไว้ การวางซิลิโคนของการเสริมหน้าอกเป็นหญิงส่วนใหญ่ 95% อยู่ใต้กล้ามเนื้อ แม้ว่าการเสริมหน้าอกในสาวประเภทสองและผู้หญิงทั่วไปมีวิธีการผ่าตัดที่ไม่แตกต่างกันนัก แต่ลักษณะทางกายภาพนั้นแตกต่างกัน เนื้อของสาวประเภทสองนั้นจะมีลักษณะเนื้อที่ตึงและมีไขมันน้อยกว่าผู้หญิง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของการเสริมหน้าอกให้เหมือนผู้หญิง การมีเทคนิคทางเลือกที่หลากหลายจึงเกิดขึ้นในการศัลยกรรมหน้าอกเพื่อให้เหมาะกับต้องการของแต่ละบุคคล ผู้ที่ผ่าตัดควรทราบว่าศัลยกรรมการเสริมหน้าอกชายเป็นหญิงไม่สามารถเลียนแบบเต้านมผู้หญิงได้สมบูรณ์แบบ
ระยะเวลาการผ่าตัดเสริมหน้าอกเป็นหญิงใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
การดูแลหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก ชายเป็นหญิง
- การดูแลแผลผ่าตัดต้องระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ ประมาณ 2-3 วัน หลังการผ่าตัด และทำความสะอาดแผลทุกวัน
- ตัดไหมหลังผ่าตัด 7 วัน
- มาพบแพทย์หลังผ่าตัด 7 วัน 14 วัน และ 1 เดือน หรือตามแพทย์นัด
- ต้องทำการนวดเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเต้านม และทำให้รูปทรงสวยงาม โดยมีเทคนิคการนวด ดันขึ้นดันลง ดันออกด้านข้างและหมุนรอบเต้านมเหมือนโม่แป้ง ทำการนวดทุกวัน วันละ1 ชั่วโมง อย่างน้อย 1 เดือน จนหน้าอกสามารถเคลื่อนไหวได้
- สวมใส่สปอร์ตบราเพื่อกดหน้าอกและให้รูปทรงเป็นธรรมชาติ ไม่ควรสวมเสื้อยกทรงที่มีโครงเหล็ก
- ห้ามยกของหนักเกิน 2-3 กิโลกรัม เพราะจะทำให้เต้านมเทียมลอยขึ้นจากตำแหน่งเดิม
- สามารถออกกำลังกายได้หลังผ่าตัด 2 เดือน
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลังผ่าตัด ชายเป็นหญิง (Risk and Complication)
- แผลบวม ( Swelling)
- ซ้ำ (Bruising)
- มีเลือดคั่ง ( Hematoma )
- มีเลือดออก ( Bleeding)
- การติดเชื้อ ( Infection )
- แผลสมานตัวช้า( Poor healing)
- เต้านมสองข้างอาจมีขนาด ตำแหน่ง และรูปทรง ไม่เท่ากัน
- ปวดแผล( Pain )แก้ไขได้ด้วยยาแก้ปวด
- แผลเป็น ( Scarring )
- ความรู้สึกที่หัวนมอาจจะลดลงหรือหายไป ( Decreased or Lost Sensation )
- มีโอกาสนมแข็ง ( Capsular Contracture ) อาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้
- ปัญหาที่เกิดจากเต้านมเทียม ( Implant Failure ) เช่นเต้านม,ร่างกายไม่รับเต้านมเทียมที่ใส่เข้าไป
- ความเสี่ยงจากผลข้างเคียงการดมยาสลบ ( Risk from anesthesia )