เสริมโหนกแก้ม (Cheekbone Augmentation)
โหนกแก้มเป็น องค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งบนใบหน้าส่วนกลาง การมีโหนกแก้มสูง และกว้างพอเหมาะกับขนาดรูปหน้า จะทำให้ใบหน้ามีโค้งนูน มีมิติ ดูสดชื่นอ่อนเยาว์ มีเสน่ห์น่าชวนมอง บางคนมีโหนกแก้มแบนเรียบ แม้จะมีจมูก ปาก รูปหน้าเป็นรูปไข่ที่สวยงาม ก็เหมือนสวยไม่เสร็จ ขาดมิติความงามบางอย่างไป การผ่าตัดเสริมโหนกแก้ม เป็นการปรับระดับของโหนกแก้ม สำหรับผู้ที่มีโหนกแก้มต่ำ และแคบ ให้โหนกแก้มสูง และกว้างขึ้น ทำให้ใบหน้าส่วนกลาง มีความสมดุล และให้ความรู้สึกที่อ่อนหวานมากยิ่งขึ้น
ผู้ที่เหมาะสมทำผ่าตัดเสริมโหนกแก้ม
- ผู้ที่มีโหนกแก้มแบน บาง หรือ ผิวหนังหย่อนคล้อยที่โหนกแก้ม
- สุขภาพดี
- มีความคาดหวังที่เป็นไปได้
- ไม่สูบบุหรี่จัด
ในปัจจุบันมีวัสดุในการเสริมโหนกแก้มหลากหลายชนิด และมีให้เลือกหลายรูปทรงด้วยกัน วัสดุที่ใช้ในการเสริมโหนกแก้ม ที่นิยมใช้ในทางการแพทย์มาอย่างยาวนาน มีความปลอดภัยสูง ได้แก่
- Silicone
- Gore-tex (e-PTFE)
- Medpore
- Alloderm
- PMMA (Customized Implant )
- แพทย์บางคนก็จะนิยมใช้การฉีดฟิลเลอร์ หรือการฉีดไขมันเข้าไปบริเวณโหนกแก้มแทนการเสริมด้วยวัสดุ
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเสริมโหนกแก้ม
- ปรึกษาแพทย์ เพื่อเลือกขนาดโหนกแก้มที่เหมาะสม ตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด เอ๊กเรย์ปอด พร้อมนำยาที่รับประทานประจำไปปรึกษาด้วย เพื่อปรับยาให้เหมาะสม
- หยุดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 2 อาทิตย์
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยา แอสไพริน วิตามินอี สมุนไพร หรือ ยาที่มีผลต่อการไหลของเลือด
ขั้นตอนการผ่าตัดเสริมโหนกแก้ม
- ขั้นตอนที่ 1 การให้ยาระงับความรู้สึก แบบยาชา หรือให้ยาทางเส้นเลือด หรือดมยาสลบ
- ขั้นตอนที่ 2 แพทย์จะทำการเปิดแผลในปากบริเวณเหนือริมฝีปาก หรือเปิดแผลใต้ขนตาล่าง และวางซิลิโคนที่ตัดแต่งแล้ว บนโหนกแก้มเดิม
- ขั้นตอนที่ 3จากนั้นเย็บปิดแผลโดยไหมด้วยการใช้ไหมละลายไม่ต้องตัด
การผ่าตัดโหนกแก้มใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
รูปที่1.แสดงภาพการเสริมโหนกแก้ม
ความเสี่ยง และ ผลแทรกซ้อนจากการเสริมโหนกแก้ม
- ติดเชื้อ ( infection )
- แผลหายช้า ( Poor Healing )
- เลือดคั่ง ( Hematoma )
- ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ ( Risk from Anesthesia )
- มีอาการบวม แดง ( Swelling )
- มีอาการชา ( Numbness )
- สีผิวเปลี่ยนไป (Skin Discoloration )
- แผลเป็น ( Scaring )
- ไขมันที่โหนกแก้มหายไป (Fat Loss)
- วัสดุที่ใส่เข้าไปทั้งสองข้างอาจจะไม่เท่ากัน ( Cheek Implant Displacement )
- ความเจ็บ (Pain)
- ผลการผ่าตัดอาจจะไม่ถูกใจ อาจจะมีการผ่าตัดครั้งที่สองได้ ( Poor Aesthetic Result )
การดูแลหลังผ่าตัดเสริมโหนกแก้ม
1. นอนศีรษะสูง ประคบด้วยเจลเย็น เพื่อช่วยห้ามเลือด และลดการบวม
2. ใส่ผ่ารัดหน้าอย่างน้อย 1 อาทิตย์
3. รับประทานอาหารอ่อน อย่างน้อย 1 อาทิตย์
4. ใช้น้ำยาบ้วนปากบ่อย ๆ ในช่วง 1 อาทิตย์แรก ในกรณีปิดแผลในปาก เพื่อช่วยให้แผลในปากสะอาด หรือทำความสะอาดแผล ใต้ตาในกรณีที่แพทย์เปิดที่ใต้ตา
5. ไม่ต้องตัดไหมเพราะเป็นไหมละลาย
6. พบแพทย์ หลังการผ่าตัดเป็นแวลา 1 เดือน
การพักฟื้นหลังผ่าตัดเสริมโหนกแก้ม
- หลังการผ่าตัด 7 วัน สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้
- ออกกำลังกายหลังผ่าตัด 1 เดือน
- อาบน้ำล้างหน้าได้หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง
- แผลในปากจะหายและการยุบบวมจะลดลง ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 เดือน