การผ่าตัดไขมันหน้าท้องและแก้ไขกล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนยาน เป็นการผ่าตัดเพื่อนำไขมันและผิวหนังส่วนเกินออก พร้อมกับเย็บแก้ไขกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ยืดออกมาหลังการคลอดบุตร ตำแหน่งการเปิดแผลหน้าท้องจะอยู่เหนือหัวเหน่า หลังการมีบุตรนั้นเวลายืนมองดูด้านข้างจะเห็นหน้าท้องป่องยืนออกมา ยิ่งผ่านการมีบุตรหลายคนหน้าท้องก็จะยิ่งป่องยืดออกมามาก จึงมีการเย็บแก้ไขกล้ามเนื้อที่หน้าท้องเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องกระชับ ทำให้มีรูปร่างและทรวดทรงดูดี สมส่วนยิ่งขึ้น การผ่าตัดไขมันหน้าท้องและเย็บแก้ไขกล้ามเนื้อหน้าท้องต้องผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 3-4 ชั่วโมง และนอนโรงพยาบาล 3 วัน ก็สามารถกลับบ้านได้ รอยแผลจะมีลักษณะเป็นเส้นยาวอยู่เหนือบริเวณหัวเหน่า และอาจจะยาวถึงสะโพกทั้ง 2 ข้าง ขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันและผิวหนังส่วนเกินที่ตัดออก
การผ่าตัดไขมันหน้าท้องมี 2 แบบคือ
1. การผ่าตัดไขมันหน้าท้อง แบบย้ายสะดือและเย็บแก้ไขกล้ามเนื้อหน้าท้อง (Abdominoplasty)
เหมาะสำหรับผู้ที่หน้าท้องหย่อนมีไขมันมาก และหน้าท้องแตกลายจากการคลอดบุตร จำเป็นต้องผ่าตัด ด้วยวิธีการดมยาสลบ
รูปที่ 1. แสดง ขั้นตอนการผ่าตัดแบบย้ายสะดือและเย็บแก้ไขกล้ามเนื้อหน้าท้อง (Abdominoplasty)
- ศัลยแพทย์จะทำการตรวจความหย่อนของกล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อวางแผนการผ่าตัด ดังหมายเลข 1
- กำหนดตำแหน่งแผลบริเวณหัวเหน่า เปิดแผลผ่าตัดผ่านชั้นของผิวหนังและไขมันจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ ดังหมายเลข2
- เลาะผังพืดระหว่างชั้นของไขมันและกล้ามเนื้อ เปิดเลาะไปจนถึงใต้ราวนม จะเห็นกล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนอย่างชัดเจนดังหมายเลขที่ 3
- เย็บกล้ามเนื้อหน้าท้องตั้งแต่ใต้ราวนมจนถึงหัวเหน่า ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องตึงกระชับ ดังหมายเลขที่ 4
- ดึงชั้นผิวหนังและไขมันหน้าท้องลงมา ตัดส่วนเกินที่อยู่ตั้งแต่แนวบนสะดือเดิมถึงหัวเหน่าออก เย็บและตกแต่งแผลชั้นของไขมันด้วยไหมละลาย และเจาะรูสะดือใหม่ แล้วเย็บตกแต่งสะดือให้ละเอียดสวยงาม เพื่อป้องกันแผลเป็นในสะดือ ดังหมายเลขที่ 5
- ตัดและเย็บผิวหนังส่วนเกินให้สวยงามตามแนวบริเวณหัวเหน่า ดังหมายเลขที่ 6
การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง
2. การผ่าตัดไขมันหน้าท้อง แบบไม่ย้ายสะดือ (Mini Abdominal Lipectomy)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีไขมันไม่มาก แต่หน้าท้องลาย จุดประสงค์เพื่อต้องการแก้ไขหน้าท้องลายเท่านั้น สามารถผ่าตัดโดยการฉีดยาชาหรือภายใต้การดมยาสลบ หลังผ่าตัดเสร็จแล้วสามารถกลับบ้านได้
รูปที่ 2. แสดงการผ่าตัดแบบไม่ย้ายสะดือ (Mini Abdominal Lipectomy)
- ศัลยแพทย์จะตรวจสอบความหย่อนของกล้ามเนื้อหน้าท้อง แล้ววางแผนการผ่าตัดดังแสดงในรูปที่ 1
- เปิดแผลบริเวณหัวเหน่าเปิดเลาะผังพืดที่อยู่ระหว่างชั้นของกล้ามเนื้อและไขมัน เปิดเลาะขึ้นไปจนถึงใต้สะดือ
- ดึงชั้นของผิวหนังและไขมันลงมาแล้วตัดส่วนเกินออก หลังจากนั้นเย็บและตกแต่งแผลให้สวยงาม
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดไขมันหน้าท้อง
- ปรึกษาศัลยแพทย์ถึงสิ่งที่คาดหวัง และผลการผ่าตัดที่จะเป็นไปได้ แพทย์จะอธิบายขั้นตอน ตำแหน่งของแผล ขนาด รูปทรงอย่างละเอียด
- ทำการตรวจสุขภาพ ตรวจร่างกาย Chest x-ray, ตรวจเลือด ตรวจ EKG, Stress test ถ้าอายุเกิน 40 ปี เพื่อผ่าตัดโดยการวางยาสลบ .
- หยุดการสูบบุหรี่ ก่อนและหลังผ่าตัด 2 อาทิตย์
- สามารถทานยาที่ทานประจำได้
- หยุดยา ที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน หรือวิตามินบางชนิด สมุนไพรก่อนการผ่าตัด 2 อาทิตย์
ขั้นตอนการผ่าตัดไขมันหน้าท้อง
- โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล การผ่าตัดไขมันหน้าท้อง จะผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ
- ศัลยแพทย์จะกำหนดตำแหน่งและทำการเปิดแผลบริเวณหัวเหน่า ในกรณีที่คนไข้ตัดไขมันหน้าท้องแบบย้ายสะดือและเย็บแก้ไขกล้ามเนื้อหน้าท้อง จะต้องเปิดเลาะผังพืดที่อยู่ระหว่างชั้นของไขมันและกล้ามเนื้อ ตั้งแต่หน้าท้องไปจนถึงใต้ราวนม จากนั้นเย็บกล้ามเนื้อหน้าท้องตั้งแต่ใต้ราวนมจนถึงหัวเหน่า ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องตึงกระชับ แล้วดึงชั้นผิวหนังและไขมันหน้าท้องลงมา ตัดส่วนเกินออก ในการผ่าตัดแบบไม่ย้ายสะดือ ศัลยแพทย์จะเปิดแผลและตัดผิวหนังส่วนเกินออก
- เย็บปิดแผล
การดูแลแผล หลังผ่าตัดไขมันหน้าท้อง
- หลังจากผ่าตัดแล้ว 2-3 วัน ควรใส่ผ้ารัดหน้าท้องแบบเต็มตัวเพื่อกระชับกล้ามเนื้อหน้าท้องตลอดเวลาทุกวันอย่างน้อย 1 เดือนเพื่อลดอาการบวม หลังจากนั้นให้ใส่เฉพาะกลางคืนเพื่อพยุงกล้ามเนื้อหน้าท้องที่เย็บกระชับให้แข็งแรง
- เมื่อครบ 6 วัน ตัดไหม และตรวจเช็คแผลอีกครั้ง
- สามารถออกกำลังกายได้หลังจากผ่าตัดไปแล้ว 2 เดือน
- แผลจะยุบบวมและหายเป็นปกติประมาณ 3-4 เดือน
ข้อควรระวังหลังผ่าตัดไขมันหน้าท้อง
- การดูแลแผลผ่าตัดต้องระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ ประมาณ 2-3 วัน หลังการผ่าตัด และทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์แนะนำ
- ต้องใส่ผ้ารัดหน้าท้องตลอดเวลาในช่วงเดือนแรก หลังจากนั้นยังต้องใส่ผ้ารัดกระชับต่อป้องกันการฉีกขาดของกล้ามเนื้อที่เย็บกระชับหน้าท้อง และลดอาการบวม
- การเขียวช้ำบริเวณแผลผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้และจะหายไปประมาณ 2-3 อาทิตย์ ถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร่วมด้วยให้มาพบแพทย์ทันที
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดได้หลังผ่าตัดไขมันหน้าท้อง
- เลือดออก (Bleeding)
- แผลติดเชื้อ (Infection)
- น้ำเหลือง (Seroma) อาจจะมีอาการบวมเป็นหย่อมๆ ซึ่งมีน้ำเหลืองขังอยู่ใต้ผิวหนัง
- แผลหายช้า (Poor wound healing)
- สูญเสียผิวหนังบริเวณหน้าท้อง (Skin loss)
- อาการชา (Numbness)
- แผลบวม (Swelling)
- แผลเป็น (Scarring)
- ความเสี่ยงจาการดมยาสลบ (Anesthesia risks)
- ผิวหนังอาจจะหลับมาหย่อยคล้อยได้อีกครั้ง
- การตายของไขมัน (Fat necrosis)
- ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ, โรคหัวใจและปอดแทรกซ้อน
- หน้าท้องไม่สมดุล (Asymmetry)
- ปวด (Pain)
- เลือดคั่ง (Hematoma)
การพักฟื้นหลังผ่าตัดไขมันหน้าท้อง
การพักฟื้นหลังผ่าตัดไขมันหน้าท้องแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเทคนิคการผ่าตัด ต้องถอดสายระบายเลือดและน้ำเหลืองหลังจากการผ่าตัดประมาณ2-3วันหลังผ่าตัด ต้องรับยาปฏิชีวนะและยาละลายลิ่มเลือด ในระหว่างที่ใส่สายเดรน ใส่ที่รัดหน้าท้องประมาณ6 สัปดาห์ เพื่อช่วยให้หน้าท้องเข้าที่เร็วขึ้น การผ่าตัดไขมันหน้าท้องแบบไม่ย้ายสะดือ ใช้เวลาในการพักฟื้นสั้นกว่าการผ่าตัดไขมันหน้าท้องแบบย้ายสะดือ งดกิจกรรมที่ต้องใช้แรงอย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อฉีกขาด สามารถกลับไปทำงานได้หลังผ่าตัด 2-6 สัปดาห์