การผ่าตัดเสริมสะโพก เป็นการปรับสรีระรูปร่างให้เห็นส่วนโค้ง ส่วนเว้าของเอว สะโพก และต้นขา เด่นชัดขึ้น การผ่าตัดเสริมสะโพกช่วยทำให้มีสะโพกผายกว้าง กระชับ กลมกลึง ไม่แคบและแบนราบเหมือนในอดีต ช่วยทำให้มีสัดส่วนของเอว สะโพก ต้นขา สวยสมดุล และไม่ทำให้เกิดอันตรายหรือมีปัญหาแทรกซ้อนมากเหมือนการไปรับการฉีดซิลิโคน หรือสารเหลวอื่น ๆ เข้าสู่สะโพก ซึ่งพบว่ามีการไหลของสารที่ฉีดไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ขา หรือ ขาหนีบ เป็นต้น ทำให้เนื้อสะโพกแข็ง ผิดรูปร่าง มีการติดเชื้อบวมแดงเพราะเลือดไหลเวียนไม่ดี การผ่าตัดแก้ไขสะโพกฉีดซิลิโคนเหลวทำได้ยาก
การผ่าตัดเสริมสะโพกมี 3 แบบคือ
- ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการใช้ถุงซิลิโคน ( Buttock Implants )
- ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการฉีดไขมันตัวเอง ( Fat graft )
- ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการใช้ถุงซิลิโคน ร่วมกับ การผ่าตัดยกกระชับ ( Buttock Implants and lift)
1. ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการใช้ถุงซิลิโคน (Buttock Implants)
การผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยถุงซิลิโคน เป็นวิธีการแรกๆที่ใช้ในการศัลยกรรมเสริมสะโพก ศัลยแพทย์จะเปิดแผลบริเวณร่องก้นและใส่ถุงซิลิโคนเข้าไป เป็นวิธีที่แพทย์มักจะแนะนำเพราะปลอดภัยและได้ผลดีที่สุด วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีไขมันสะโพกน้อย
การผ่าตัดเสริมสะโพกจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการปรับรูปทรงสะโพกให้ ผาย กลมกลึง กระชับสวยงาม ศัลยแพทย์จะทำการเปิดแผลบริเวณ ร่องก้น ยาวประมาณ 4-5 ซ.ม. จากนั้นใส่ ถุงซิลิโคน (Buttocks impaints) เป็นรูปทรงกลม หรือทรงรี แล้วแต่ความเหมาะสม เข้าไปใต้กล้ามเนื้อก้น ที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อส่วนนอกและส่วนกลาง ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ช่วยลดปัญหาการเคลื่อนที่ของถุงซิลิโคน ซึ่งอาจจะทำให้ระดับของสะโพกไม่เท่ากันสองข้าง และอาจเกิดพังผืดได้
รูปที่ 1. แสดงการผ่าตัด เสริมสะโพกด้วยการใช้ถุงซิลิโคน
ในการปรับรูปทรงสะโพกให้ ผาย กลมกลึง กระชับสวยงาม ด้วยถุงซิลิโคนมี
ข้อดี
- สามารถผ่าตัดได้ทันทีแม้ไม่มีไขมัน
- สามารถกำหนดขนาดที่ต้องการได้
- เมื่อต้องการเอาออกสามารถเอาออกได้ทั้งถุงซิลิโคน
- การเสริมซิลิโคนสามารถแก้ปัญหาก้นห้อยได้
ข้อเสีย
- พักฟื้นนานกว่า
- เนื่องจากเป็นวัสดุทำขึ้นมาเพื่อใช้ในทางการแพทย์ ร่างกายอาจจะไม่ยอมรับได้
รูปที่ 2. แสดงชนิดของถุงซิลิโคนที่ใช้เสริมสะโพก
ชนิดของถุงซิลิโคนที่ใช้เสริมสะโพก หลากหลายชนิดให้เลือกดังนี้
- ขนาด
- รูปทรง มีทรงกลม และ แบบหยดน้ำ
- ผิว มี แบบผิวเรียบ และผิวทราย
2. ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการฉีดไขมัน (Fat Graft)
การเสริมสะโพกด้วยการฉีดไขมัน หรือเรียกอีกอย่างว่า Brazilian Butt Lift เป็นการเสริมสะโพกอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ศัลยแพทย์จะทำการดูดไขมันส่วนเกินจากส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หน้าท้อง เอว หรือต้นขา จากนั้นศัลยแพทย์จะฉีดไขมันเข้าไปที่สะโพก เพื่อเสริมสะโพกให้มีขนาดที่สวยงามมากยิ่งขึ้น การเสริมสะโพกด้วยวิธีนี้บางครั้งอาจทำพร้อมกับการเสริมด้วยถุงซิลิโคน
รูปที่ 3. แสดงการ ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการฉีดไขมัน (Fat Graft)
ในการปรับรูปทรงสะโพกให้ ผาย กลมกลึง กระชับสวยงาม ด้วยการฉีดไขมันมี
ข้อดี
- เป็นไขมันของตัวเอง
ข้อเสีย
- ไขมันที่ฉีดเข้าไปบางส่วนจะสลายไป ขนาดของก้นหลังผ่าตัดใหม่ๆกับหลังผ่าตัด 6 เดือนจะต่างกันมาก ต้องเติมไขมันซ้ำทุกๆ 6-12 เดือน อย่างน้อย 2-3 ครั้ง
- ก้นสองข้างอาจจะไม่เท่ากัน ข้างไหนไขมันจะสลายมากกว่ากัน
- มีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณที่ฉีด อาจจะไม่ได้มากเท่าที่ต้องการ
- ไม่สามารถแก้ก้นห้อยได้
3. ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการใช้ถุงซิลิโคน ร่วมกับ การผ่าตัดยกกระชับ (Buttock Implants and lift)
การยกกระชับสะโพก เป็นการยกกระชับสะโพกที่หย่อนคล้อยให้กลับมาเด้งเต่งตึงอีกครั้ง โดยการผ่าตัดนำผิวหนังส่วนที่หย่อนคล้อยบริเวณสะโพกออก จะมีแผลซ่อนอยู่ที่ขอบบิกินี่ไลน์ด้านหลัง การผ่าตัดอาจจะเป็นการผ่าตัดยกกระชับสะโพกอย่างเดียว หรือ มีการเสริมด้วยถุงซิลิโคนหรือและฉีดไขมันร่วมด้วย
รูปที่ 4. แสดงการผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการใช้ถุงซิลิโคน ร่วมกับ การผ่าตัดยกกระชับ
ข้อดี
- สามารถผ่าตัดได้ทันทีแม้ไม่มีไขมัน
- สามารถกำหนดขนาดที่ต้องการได้
- เมื่อต้องการเอาออกสามารถเอาออกได้ทั้งถุงซิลิโคน
- การเสริมซิลิโคนสามารถแก้ปัญหาก้นห้อยในกรณีที่ก้นห้อยและมีหนังเหลือเยอะมาก เทคนิคนี้สามารถปรับรูปร่างของสะโพกและลำตัวได้
ผู้ที่เหมาะสมทำการผ่าตัดเสริมสะโพก
- สะโพกแบน เล็ก หรือห้อย
- มีความคาดหวังอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
- มีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง สามารถดมยาสลบได้
- มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
วิธีการผ่าตัด เสริมสะโพกด้วยถุงซิลิโคน
- นอนคว่ำดมยาสลบ
- เปิดแผลที่ร่องก้น ยาว 4-5 เซนติเมตร เปิดโพรงใต้กล้ามเนื้อสะโพกทั้งสองข้าง แล้วใส่ถุงซิลิโคนสำหรับก้น ที่เลือกไว้เข้าไป จัดรูปทรงให้สวยงาม
- เย็บปิดแผล
ระยะเวลาในการผ่าตัดเสริมสะโพก
ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ภายใต้การดมยาสลบ
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด เสริมสะโพก
- ปรึกษาศัลยแพทย์ เพื่อเลือกขนาดถุงซิลิโคนให้เหมาะสมกับรูปร่าง
- ตรวจเลือดและตรวจร่างกาย
- ทานยาหรือปรับยาตามแพทย์แนะนำเพื่อเตรียมตัวผ่าตัด
- หยุดยาจำพวกแอสไพริน ยาลดอาการอักเสบ หรือสมุนไพร เพราะอาจจะทำให้เลือดออกมาขึ้นได้
การดูแลหลังผ่าตัดเสริมสะโพก
- ผู้ที่ผ่าตัดเสริมสะโพก ต้องระวังเรื่องของการอักเสบของแผลที่เกิดจากแผลผ่าตัดที่อยู่บริเวณร่องก้น ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 4-5 ซม.
- หลังผ่าตัดใหม่จึงต้องนอนคว่ำหน้าอย่างน้อย 7วัน เพื่อป้องกันไม่ ให้แผลแยกและช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น หลังจากนั้น สามารถนอนตะแคงสลับการนอนคว่ำ เป็นเวลาประมาณ 2-3 อาทิตย์
- ใส่กางเกงยกกระชับสะโพก 1 เดือนเพื่อช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น
- ไปพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดได้หลังการ เสริมสะโพก
หัตถการทุกอย่างนั้นมีความเสี่ยงเสมอ ควรรู้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้ ถึงแม้จะได้รับการผ่าตัดอย่างดี
- แผลเป็น (Scarring)
- เลือดออก (Bleeding)
- บวม เขียวช้ำ (Bruising)
- ปวด (Pain)
- ภาวะติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด หรือติดเชื้อรอบซิลิโคนเสริมสะโพก (Infection)
- สะโพกซ้ายขวา อาจจะไม่เท่ากันได้ (Asymmetry)
- ภาวะพังผืด (Capsular contracture) และต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขได้
- ซิลิโคนเหลว แตกรั่วออกจากถุงซิลิโคน (Implant leak)
- แผลหายช้า (Poor Healing)
- แผลแตก แผลแยก (Skin tears)
- ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ (Risk from Anesthesia)
ผลการผ่าตัดเสริมสะโพก
คุณจะได้สะโพกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและสวยงามเหมือนธรรมชาติ และสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่ายเช่นเดียวกับการเสริมเต้านม ดังนั้นการผ่าตัดเสริมสะโพกให้ดูใหญ่และได้สัดส่วนของรูปร่างที่สวยงามและสมดุล จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยเสริมสร้างความงดงามของรูปร่าง เสริมบุคลิกภาพให้เกิดความมั่นใจ อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในผลของการผ่าตัดสูง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ทำการผ่าตัด