• โทร: 02 559 0155

เสริมสร้างหน้าอกใหม่

การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ สำหรับผู้ที่สูญเสียเต้านม (Breast Reconstruction)

         การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ เป็นการผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่ สำหรับผู้ที่ต้องถูกตัดเอาเต้านมออกเนื่องจากถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม,ผู้ที่สูญเสียเต้านมจากการถูกไฟไหม้ หรือผู้ชายข้ามเพศที่ต้องการกลับมามีเต้านมเหมือนเดิม สำหรับผู้ที่ต้องตัดเต้านมออกเนื่องจากเป็นมะเร็งเต้านม เมื่อต้องการจะเสริมสร้างเต้านมใหม่ ต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์ผู้รักษาโรคมะเร็งแล้วว่าได้ทำการรักษาโรคมะเร็งเต้านมหายเรียบร้อยแล้ว

 

ผู้ที่เหมาะสมผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

  1. ต้องเป็นผู้ที่รักษาโรคมะเร็งเต้านมหายเรียบร้อยแล้ว
  2. ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างเต้านมใหม่ จากการถูกไฟไหม้หรือได้รับอุบัติเหตุ
  3. ก่อนหน้านี้ต้องไม่ได้รับการฉายรังสีบริเวณหน้าอก
  4. ไม่สูบบุหรี่
  5. ไม่มีโรคทีเกี่ยวกับเนื้อเยื้อ เช่น SLE, โรคไขข้ออักเสบ และ โรคหนังแข็ง

 

โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล มีการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ 2 แบบดังนี้

  1. ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ถุงเต้านมเทียม แพทย์จะใช้ถุงเต้านมเทียมแบบซิลิโคนหรือแบบถุงเติมน้ำเกลือ ใส่เข้าไปในโพรงใต้กล้ามเนื้อ ในกรณีที่ผิวหนังตึงมาก และมีแผลเป็นรั้ง ศัลยแพทย์จะใช้วิธีการขยายเนื้อเยื้อใต้กล้ามเนื้อโดยการใช้ Tissue Expander ค่อยๆขยาย ก่อนที่จะใส่ถุงเต้านมเทียมเข้าไป
  2. ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้เนื้อเยื่อตัวเอง โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลมีการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้โดยใช้เนื้อเยื่อตัวเองหลากหลายวิธีดังนี้

a. ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง (TRAM- Transverse ectus abdominis muscle flap) ศัลยแพทย์จะใช้ส่วนของผิวหนัง, กล้ามเนื้อหน้าท้องและไขมันหน้าท้องบริเวณตั้งแต่ใต้สะดือลงมา โดยที่ยังเก็บเส้นเลือดไว้และนำเนื้อเยื้อส่วนนั้นไปสร้างเป็นเต้านมใหม่ให้มีรูปทรงคล้ายกับเต้านมอีกข้างให้มากที่สุด วิธีการนี้เป็นวิธีใช้กันมาก แต่คนไข้จะสูญเสียกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง อาจทำให้ กล้ามเนื้อบริเวณนี้ไม่แข็งแรง


TRAM flap (Transverse rectus abdominis muscle flap)

รูปที่1. แสดงขั้นตอนการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง (TRAM)

 

b. ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ผิวหนังและไขมันหน้าท้อง (DIEP-Deep inferior epigastric perforator flap) ศัลยแพทย์ขจะใช้เนื้อเยื้อและไขมัน โดยที่ไม่เอาชั้นกล้ามเนื้อ นำมาสร้างเป็นเต้านมใหม่ การผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดด้วยกล้องจุลทัศน์ วิธีการนี้มีข้อดีคือไม่สูญเสียกล้ามเนื้อหน้าท้อง แต่ข้อเสียคือการต่อเส้นเลือดอาจจะทำให้เกล็ดเลือดแข็งตัวเป็นก้อนวิ่งไปตามเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดเกิดการอุดตัน 


DIEP flap (Deep inferior epigastric perforator flap)

รูปที่2. แสดงขั้นตอนการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ผิวหนังและไขมันหน้าท้อง (DIEP)
 

c. ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่โดยใช้เนื้อเยื้ออื่น ขึ้นอยู่กับความต้องการและข้อจำกัดของคนไข้ เช่น LD-flap (Latissimus Dorsi flap) เป็นวิธีการเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยจะใช้ผิวหนังกล้ามเนื้อ Latissimus Dorsi และไขมันบริเวณหลัง มาผ่าตัดตกแต่งเสริมสร้างเป็นเต้านมใหม่

 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

  1. ปรึกษาศัลยแพทย์ถึงสิ่งที่คาดหวัง และผลการผ่าตัดที่จะเป็นไปได้ แพทย์จะอธิบายขั้นตอน ตำแหน่งของแผล ขนาด รูปทรงอย่างละเอียด และทำการตรวจสุขภาพ ตรวจร่างกาย  Chest x-ray, ตรวจเลือด  ตรวจ EKG, Stress test ถ้าอายุเกิน 40 ปี เพื่อผ่าตัดโดยการวางยาสลบ
  2. หยุดการสูบบุหรี่ ก่อนและหลังผ่าตัด 4 อาทิตย์
  3. หยุดยา ที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดเช่น แอสไพริน หรือวิตามินบางชนิด สมุนไพรก่อนการผ่าตัด  2 อาทิตย์

 

การดูแลแผลหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

การดูแลแผลหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ถุงเต้านมเทียม

  • ใส่ผ้ารัดหน้าอก 7 วัน หลังผ่าตัด
  • ตัดไหมวันที่ 7 หลังผ่าตัด
  • นวดเต้านม การนวดขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุที่ใช้ในการศัลยกรรม
  • ต้องมีการผ่าตัดสร้างหัวนมและปานนมในการผ่าตัดครั้งต่อไป

การดูแลแผลหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้เนื้อเยื้อตัวเอง ในการผ่าตัดประเภทนี้ จะต้องมีการดูแลแผลมากเป็นพิเศษ

  • ในกรณีที่ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้โดยใช้ผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง คนไข้ต้องงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงหนัก เป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
  • ในกรณีที่ผ่าตัดแบบ DIEP คนไข้ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 7วัน หลังผ่าตัด และงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงเยอะ เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์

 

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

  1. การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้โดยใช้ผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยปกติแล้วศัลยแพทย์จะเลือกใช้เนื้อเยื้อส่วนที่เหมาะกับกับไข้มากที่สุด แต่ในบางกรณีแผลอาจจะเกิดการสมานช้า และมีอาจมีการไหลเวียนของเลือดไม่ดี เนื่องจากการรักษาจากครั้งที่แล้ว
  2. แผลสมานตัวช้า (Poor healing)  
  3. ความรู้สึกบริเวณหัวนมเปลี่ยนแปลงหรือชา  (Decreased or Lost Sensation) Bleeding, hematoma, and seroma
  4. ภาวะติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด (Infection)
  5. กล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรงเหมือนเดิม และอาจมีอาการชาร่วมด้วย
  6. ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์: ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นเต้านมใหม่ที่ไม่เท่ากัน ไม่สมมาตรหรือดูผิดธรรมชาติ

 

การพักฟื้นหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

การพักฟื้นหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเทคนิคในการผ่าตัด

  1. คนไข้ที่ทำการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยถุงเต้านมเทียม ต้องใช้เวลาในการพักฟื้น 2 สัปดาห์
  2. คนไข้ที่ทำการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่วิธีขยายโพรงใต้กล้ามเนื้อ (Tissue expansion) ต้องทำการขยายโพรงเป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ เพื่อที่จะใส่ถุงเต้านมเทียม ดังนั้นจึงต้องมีการพักฟื้นนานกว่าการผ่าตัดโดยการใส่ถุงเต้านมเทียมธรรมดา
  3. คนไข้ที่ทำการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยเนื้อเยื้อตัวเอง ต้องพักฟื้นประมาณ 2 สัปดาห์
  4. คนไข้ที่ทำการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยเนื้อเยื้อตัวเอง แผลจะเป็นปกติประมาณ 6-12 เดือน

 

 

ข้อมูลโดย

 
 
 
 

World-Class Services