การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร (Mandibular Osteotomy, Corrective Jaw Surgery)
เป็นการผ่าตัดเพื่อปรับการทำงานของกระดูกขากรรไกรและฟันที่ผิดปกติให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำงานได้ดีขึ้น การผ่าตัดขากรรไกรต้องทำร่วมกับการจัดฟัน ต้องมีการวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์ช่องปากและขากรรไกร กับทันตแพทย์จัดฟัน การผ่าตัดขากรรไกรสามารถทำได้ โดยผู้หญิงหลังอายุ 14-16 ปี ผู้ชายหลังอายุ17-21 ปี นอกจากนี้ การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรยังเป็นการปรับรูปหน้า และ คางที่ยื่นมากเกินไป หรือ แนวฟันบนที่ยุบมากเกินไป ให้เข้าสู่สมดุลของกราม และคาง ทำให้ใบหน้าสวยงามได้สัดส่วนอีกด้วย
ประโยชน์การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร
- ช่วยในการกัด และการขบเคี้ยวของฟันดีขึ้น
- แก้ไขปัญหาการกลืน และการพูดไม่ชัด เนื่องจากการสบฟันไม่ปกติ
- ลดปัญหาการแตกหักของฟันเวลาขบเคี้ยว
- ทำให้การสบฟันหน้าดีขึ้น
- ทำให้ใบหน้า คาง กราม และขากรรไกรดูสมดุล สวยงาม
- ทำให้ริมฝีปากปิดฟันบนฟันล่างได้พอเหมาะพอดี
- แก้ไขปัญหา Sleep apnea และ การนอนกรน ได้ดีขึ้น
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร
ทันตแพทย์จัดฟันต้องมีการเตรียมการจัดฟันไว้ให้ศัลยแพทย์กราม และขากรรไกรอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อจัดตำแหน่งของฟันให้พอดีกับที่ทางศัลยแพทย์จะตัด จึงต้องมีการปรึกษาในแต่ละเคสกันตลอดเวลาจนพร้อม เมื่อถึงวันนัดผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ทันตแพทย์จัดฟันจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์ขากรรไกรและช่องปาก ระหว่างนั้นจะมีการเอ็กซเรย์ พิมพ์ฟัน และทำความสะอาดฟันไว้ให้พร้อม
การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร จะทำโดยศัลยแพทย์ช่องปากและขากรรไกร (Oral and Maxillo Facial Surgeon) ภายใต้การดมยาสลบที่โรงพยาบาล ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 2-4 ชั่วโมง พักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 2-4 วัน
ขั้นตอนการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร
ขั้นตอนที่ 1 ดมยาสลบ
ขั้นตอนที่ 2 เปิดแผล
ตำแหน่งแผลผ่าตัด อยู่ภายในช่องปากตามแนวขากรรไกร ศัลยแพทย์จะตัดกระดูกขากรรไกรบน หรือล่าง เลื่อนเข้า หรือเลื่อนออก ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมของฟันบน และฟันล่าง แล้วใส่แผ่น plate และ สกรูตัวเล็กๆ เพื่อยึดกระดูกให้ติดกัน บางเคสอาจจะต้องการเสริมกระดูกเพิ่ม โดยอาจจะเอามาจากกระดูกก้นซี่โครงมาใช้ การผ่าตัดขากรรไกรอาจจะทำร่วมกับการตัดกราม หรือคางด้วยเพื่อให้เกิดความสวยงามและความสมดุลบนใบหน้า
ขั้นตอนที่ 3 เย็บปิดแผล
ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 2-4 ชั่วโมง พักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 2-4 วัน
การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร มี 2 แบบ คือ
- การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบน ( Upper Mandibular Osteotomy )
- การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่าง ( Lower Mandibular Osteotomy )
1. การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบน (Upper Mandibular Osteotomy)
รูปที่ 1. การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบน
การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบนเพื่อแก้ปัญหาการสบฟันหน้ากราม ไม่เป็นไปตามปกติโดยขากรรไกลบนยื่นออกไปมากเกินไปหรือ Open Bite ลักษณะฟันหน้าบน และล่างเปิดห่างจากกันขณะสบฟัน ถ้าไม่ทำการรักษาอาจทำให้การกัดอาหารไม่ขาด ออกเสียงไม่ชัด มีลักษณะการกลืนที่ผิดปกติ และเกิดการพัฒนาใบหน้าในแนวดิ่งมากกว่าปกติ ถ้าเป็นไม่มากสามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟัน แต่ถ้าเป็นมากการจัดฟันอย่างเดียวไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรเข้าไป หรือบางครั้งอาจจะมีการเลื่อนขากรรไกรบนออกมากเพื่อให้พอดีกับขากรรไกรล่างก็ได้ ขึ้นอยู่กับฟันของแต่ละบุคคล
การผ่าตัดขากรรไกรบนศัลยแพทย์จะตัดกระดูกเหนือรากฟัน สามารถวางแผนจากคอมพิวเตอร์หรืออาจะเอ็กซเรย์เพื่อให้ตัดได้ในตำแหน่งที่เหมาะสม ในระหว่างการผ่าตัดศัลยแพทย์จะตัดกระดูกแล้วตัดกระดูกส่วนเกินออกจะยึดด้วยกระดูกขากรรไกรด้วยสกูร และ Plat
2. การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่าง (Lower Mandibular Osteotomy)
รูปที่ 2. การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่าง
รูปที่ 3. การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่าง
เพื่อปรับขากรรไกรล่างที่ยื่นออกมาให้เข้าไปหรือถอยขากรรไกรล่างออกมาให้พอดีสมดุลกับขากรรไกรบนโดยศัลยแพทย์จะตัดกระดูกบางส่วนของขากรรไกรหลังฟันกรามทั้งสองข้างแล้วเลื่อนออกหรือเข้าและให้สกูรและ Plat
การดูแลหลังผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร
- หลังการผ่าตัดวันแรก ให้จิบน้ำให้เยอะๆ เพื่อให้แผลในปากสะอาด และ ป้องกันการขาดน้ำ
- ประคบเย็นข้างแก้ม 3-4 วันหลังผ่าตัด เพื่อลดปวดและบวม
- จะต้องรับประทานอาหารอ่อนอย่างน้อย 1 เดือน
- นอนหมอนสูงเพื่อให้ยุบบวมเร็วขึ้น
- หลังผ่าตัดอาทิตย์แรก ใช้หลอดดูดอาหารเหลวใสเช่น นม น้ำข้าว ซุปใส ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง แล้วดูดน้ำล้างปากให้สะอาด
- จะต้องรับประทานอาหารอ่อนอย่างน้อย 1 เดือน
- คนไข้จะมียางเกี่ยวไว้ระหว่างฟันบน และ ฟันล่างเพื่อควบคุมตำแหน่งการสบฟัน เวลารับประทานอาหารอ่อน สามารถถอดออกได้ เมื่อทานอาหารเสร็จแล้วให้ใส่เหมือนเดิม
- หลังผ่าตัดอาทิตย์แรก หลีกเลี่ยงการอ้าปากกว้าง
- ทำความสะอาดในปากด้วยน้ำยาบ้วนปากบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- รับประทานยาแก้ปวดสม่ำเสมอ
- ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามผลการผ่าตัด
การพักฟื้นหลังผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร
กลับไปทำงานตามปกติ หลังผ่าตัด 3 อาทิตย์ แผลจะหายดี หลังผ่าตัด 6-12 อาทิตย์ ออกกำลังกายได้หลังผ่าตัด 1 เดือน
ความเสี่ยง และ ภาวะแทรกซ้อน ของการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร
การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรโดยทั่วไปจะปลอดภัยถ้าทำด้วยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกรามและขากรรไกร และทำงานร่วมกับทันตแพทย์จัดฟันแต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรอาจมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้แก่
- การสูญเสียเลือด( Bleeding)
- ติดเชื้อ ( Infection)
- เส้นประสาท ฉีกขาด บอบช้ำ ( Nerve Injury )
- ขากรรไกรแตกหัก( Mandible Broken)
- การกลับมาเลื่อนเข้าที่เดิมของขากรรไกร
- ปัญหาการเจ็บปวด ขณะขบเคี้ยว ( Pain )
- อาจต้องผ่าตัดใหม่ ถ้ามีปัญหาในเรื่องของการสบฟันหรือข้อต่อ TMJ ( Re-surgery)
- อาจจะมีการรักษารากฟันตามมาเพราะในระหว่างการผ่าตัดอาจจะมีรากฟันบางซี่ยาวมาก การตัดเลื่อนขากรรไกรอาจจะไปโดนลากฟันได้ ซึ่งอาจจะมีโอกาสกลับมารักษารากฟันได้
- สูญเสียบางส่วนของกระดูกขากรรไกร( loss bone )
- จะปวด และบวม มากน้อยขึ้นอยู่แต่ละบุคคล ใช้ยาแก้ปวด
- มีปัญหาเกี่ยวกับการกินอาหาร ในช่วงแรกหลังผ่าตัด 2-3 เดือนแรก เพราะกระดูกขากรรไกรที่ผ่าตัดใส่สกูรไว้ยังไม่แข็งแรงมาก ไม่สามารถขบเคี้ยวอาหารตามปกติได้จะต้องรับประทานอาหารอ่อนอาจจะเกิดการขาดสารอาหารได้จึงต้องการอาหารเสริมมาช่วย
- ใช้เวลาในการยุบบวมเพื่อปรับรูปหน้าใหม่
ผลการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร
- ทำให้รูปหน้าสมส่วนดีขึ้น
- การทำงานของฟันดีขึ้น
- ทำให้การหลับ การหายใจ การเคี้ยว การกลืนดีขึ้น
- การพัฒนาการออกเสียงดีขึ้น
- ช่วยให้ใบหน้าเกิดความ สมดุล สวยงาม มีความมั่นใจมากขึ้น