สาเหตุของโรคอ้วน
ในปัจจุบันวิถีชีวิต และการรับประทานอาหารของคนไทยเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของคนในปัจจุบันนั้นจะมีการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ และต้องทำงานแข่งกับเวลาอยู่เสมอ ทำให้อาหารที่รับประทานเป็นอาหารแบบง่ายๆ ที่สะดวกและรวดเร็ว จากร้านสะดวกซื้อ หรือร้านอาหารที่เป็นแบรนด์จากต่างชาติ (Fast Food) ทำให้คุณค่าทางอาหารที่ได้รับต่ำ เพราะอาหารเหล่านี้จะเป็นอาหารจำพวกแป้ง และไขมัน มีการรับประทานผักและผลไม้น้อยลง ความเร่งรีบในการทำงาน ทำให้โอกาสในการออกกำลังกายมีน้อยลง คนไทยจึงเป็นโรคอ้วนกันเยอะมากขึ้น มีรูปร่างอุ้ยอ้าย อึดอัด และมีโรคอื่น ๆ คุกคามแทรกซ้อน ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และไขมันในหลอดเลือดสูง มีความเสี่ยงในการเสี่ยงในการเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้อายุสั้นกว่าคนทั่วไป
นอกจากนี้ความผิดปกติของระดับ Gut Hormone ในกระเพาะอาหาร จะมีผลต่อความหิว ความอิ่ม และ ระดับน้ำตาลในเลือด
วิธีการวัดความอ้วนของร่างกาย
ความอ้วนนั้นสามารถคาดคะเนจากสายตาแล้ว อาจจะใช้วิธีวัดความอ้วน โดยการคำนวนดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) เป็นค่าดัชนีที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อใช้เปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัวต่อความสูง เพื่อวัดความอ้วน-ผอม สามารถคำนวนได้โดยนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยกำลังสองของส่วนสูงตนเอง (เมตร) โดยเมื่อคำนวนแล้วสามารถนำมาเปรียบเทียบเกณฑ์ได้ดังนี้
- ผอมเกินไป: น้อยกว่า 18.5 (<18.5)
- เหมาะสม: มากกว่าหรือเท่ากับ 18.5 แต่น้อยกว่า 25 (≥18.5 แต่ <25)
- น้ำหนักเกิน: มากกว่าหรือเท่ากับ 25 แต่น้อยกว่า 30 (≥25 แต่ <30)
- อ้วน: มากกว่าหรือเท่ากับ 30 แต่น้อยกว่า 40 (≥30 แต่ <40)
- อันตรายมาก: มากกว่าหรือเท่ากับ 40 (≥40)
(http://th.wikipedia.org/wiki/ดัชนีมวลกาย)
( BMI Calculator )
แนวทางการรักษาโรคอ้วน
1. การควบคุมอาหารควบคู่กับการออกกำลังกาย
เป็นการรักษาโรคอ้วนที่ได้ผลและปลอดภัยมากที่สุด โดยควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารจำพวกโปรตีน ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีวิตามินสูง ลดอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน และน้ำตาล ขณะเดียวกันควรออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนัก โดยควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 4 ครั้ง/สัปดาห์ และในการออกกำลังกายแต่ละครั้งไม่ควรต่ำกว่า 30 นาที โดยเน้นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio) เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น ซึ่งเป็นการออกกำลังที่ช่วยในการเผาผลาญไขมันได้เป็นอย่างดี หากหลังจากการควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วน้ำหนักยังขึ้นอยู่ รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงของโรคต่าง ๆ หรือมี BMI สูงเกิน 25 แต่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยารักษาโรคอ้วน ถ้าหากรักษาด้วยยาแล้ว BMI ยังสูงเกิน 30 และมีปัจจัยเสี่ยงของโรคร่วมด้วย อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
2. การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยานั้น ยาจะมีผลต่อจิตประสาท เป็นยาที่ไม่ควรซื้อมารับประทานเอง จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันการรักษาด้วยยา ควรจะควบคู่กับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายด้วย โดยผู้ที่ควรได้รับการรักษาโรคอ้วนด้วยยานั้น จะต้องมี BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 หรือ ผู้ที่มี BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 27 และมีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย
3. การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (Bariatric Surgery)
เป็นการลดขนาดของกระเพาะอาหารเป็นการตัดกระเพาะอาหารให้เล็กลงทำให้ฮอร์โมน Gut Hormone ต่างๆลดลง ทำให้ไม่รู้สึกหิว (ทานนิดเดียวจะรู้สึกอิ่มไว) จึงปลอดภัยกว่า ควบคุมการหิวได้ดีกว่า
การผ่าตัดรักษาโรคอ้วนมีหลายวิธี
-
การใส่บอลลูน (Gastric Balloon )
-
การผ่าตัดกระเพาะ มี 3 แบบ
- Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy
- Gastric Bypass (Roux-en-Y gastric Bypass)
- Lap Banding (LAGB: Laparoscopic Adjustable Gastric Banding)
ที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล ให้บริการแบบ การใส่บอลลูน (Gastric Balloon ) และ การผ่าตัดกระเพาะแบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy
การผ่าตัดกระเพาะ แบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy คืออะไร ?
การผ่าตัดกระเพาะ ( Sleeve Gastrectomy) เป็นวิธีการตัดเอาเนื้อกระเพาะ ตามแนวยาวของกระเพาะออกบางส่วน เพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง ด้วยการผ่าตัดด้วยกล้องแผลน้อย เพื่อให้รับประทานได้น้อยลง สำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน จะช่วยลดปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งการตัดกระเพาะจะทำให้ผู้ที่ตัดกระเพาะไปแล้วนั้น สามารถประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก มีน้ำหนักที่ลดลง จากการศึกษาพบว่า การผ่าตัดกระเพาะ แบบ Sleeve Gastrectomy ปลอดภัยกว่า ปัญหาแทรกซ้อนน้อยกว่าการทำ By pass. สามารถทำให้คนอ้วนที่มี โรคความดัน เบาหวาน หลังตัดกระเพาะจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
รูปภาพที่1. แสดงการตัดกระเพาะแบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy Surgery
การผ่าตัดกระเพาะแบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy เป็นการผ่าตัดเอากระเพาะอาหารออกประมาณ 70-85 เปอร์เซ็นต์ กระเพาะอาหารที่เหลือจะลักษณะคล้ายกล้วย การผ่าตัดกระเพาะแบบ Sleeve Gastrectomy แตกต่างจากขั้นตอนการผ่าตัดลดความอ้วนด้วยวิธีอื่นๆ เนื่องจากการผ่าตัดวิธีนี้อาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารใหม่ จากนั้นอาหารจะไปตามเส้นทางเดินอาหารเดิมปกติ จึงไม่มีปัญหาในการดูดซึม การผ่าตัดกระเพาะแบบ Sleeve Gastrectomy ทำให้ช่วยลดปริมาณอาหาร (และแคลอรี่) ที่บริโภคได้ และยังส่งผลต่อฮอร์โมนในลำไส้ Gut Hormone ซึ่งส่งผลต่อหลายปัจจัยเช่นความหิว,ความอิ่ม และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การผ่าตัดกระเพาะอาหารยังช่วยควบคุมโรคเบาหวานประเภท 2 ได้อีกด้วย หลังผ่าตัดจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและกินได้น้อยลง
ข้อดี การผ่าตัดกระเพาะ แบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy
-
ผ่าตัดด้วยกล้อง แผลเล็กมาก Minimal Invasive Surgery
-
ใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า การผ่าตัดกระเพาะแบบอื่นๆ เพียง 3-4 วัน ในโรงพยาบาล
-
กระเพาะอาหารมีขนาดเล็กลง รับประทานอาหารได้น้อยลง รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น
-
เกิดการสลายไขมันอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำหนักตัวหายไปอย่างรวดเร็ว
-
ไม่มีสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะเช่น Balloon หรือนอกกระเพาะ เช่น ตัวรัดกระเพาะ
-
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีของฮอร์โมนในลำไส้ Gut Hormone มีปริมาณน้อยลง ไม่ไปกระตุ้นการอยากอาหาร ไม่ค่อยหิว และเวลากินจะกินได้น้อยลง
ข้อเสีย การผ่าตัดกระเพาะ แบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy
-
เมื่อตัดกระเพาะแล้วจะไม่สามารถทำให้กระเพาะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีก
-
อาจทำให้เกิดการขาดวิตามิน หรือสารอาหารบางอย่าง ในระยะยาว
ใครเหมาะสมกับการผ่าตัดกระเพาะ
-
เป็นโรคอ้วน และมี BMIสูง มากกว่า 40 ขึ้นไป
-
มี BMI ระหว่าง 30 - 40 แต่มีภาวะที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน เช่นโรคเบาหวานประเภท 2 หรือความดันโลหิตสูง
-
อายุไม่เกิน 65 ปี
-
สุขภาพร่างกายแข็งแรงพอที่จะ ดมยาสลบได้
-
เป็นคนอ้วน ที่เคยลดน้ำหนักวิธีต่างๆแล้วไม่ได้ผล เช่นการอดอาหาร การออกกำลังกาย หรือใช้ยา
-
มีวินัยในการดูแลสุขภาพ ควบคุมการรับประทานอาหาร ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และโภชนากร และ พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
ต้องมาปรึกษาแพทย์หากคุณคิด ว่าการผ่าตัดลดน้ำหนักอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ หากคุณมีคุณสมบัติที่พร้อมสำหรับการรักษา เราสามารถแนะนำคุณเพื่อรับการประเมินเพื่อตรวจสอบในการผ่าตัดได้
การเตรียมตัวผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการผ่าตัด ซึ่งประกอบด้วย
- นักโภชนบำบัด
- นักจิตวิทยา
- อายุรแพทย์ที่ชำนาญในการดูแลผู้ป่วยภาวะอ้วน
- ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำผ่าตัดในผู้ป่วยภาวะอ้วน
การขอคำปรึกษา และการปฏิบัติตัว
- นักโภชนบำบัดจะอธิบายว่าควรทานอาหารมากน้อยแค่ไหนหลังทำการผ่าตัด และก่อนผ่าตัดจะต้องลดน้ำหนักเท่าไร
- นักจิตวิทยา ช่วยในเรื่องการลดความเครียดที่อาจมีมากขึ้นในช่วงก่อน-หลังผ่าตัด
- แพทย์อายุรกรรม จำเป็นต้องตรวจสุขภาพให้คำปรึกษาการรักษาเพิ่มเติม หรือให้คำปรึกษาทางยาในการลดน้ำหนักบ้างก่อนการผ่าตัด และดูแลโรคที่มาพร้อมกับความอ้วน
- แพทย์ผ่าตัด อธิบายถึงทางเลือกกับผู้ป่วยว่าการทำผ่าตัดแต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร เพื่อผู้ป่วยจะพิจารณาได้ว่าวิธีใดเหมาะสมกับตน
ขั้นตอนการผ่าตัดกระเพาะ แบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy
การผ่าตัดกระเพาะแบบ Sleeve Gastrectomy minimal invasive surgery จะผ่าตัดโดยการส่องกล้อง ใช้เวลาในการผ่าตัด 2-3 ชั่วโมง
- ดมยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์
- ศัลยแพทย์จะทำการเปิดแผลเล็ก ๆ 4จุด บริเวณหน้าท้อง จากนั้นจะสอดกล้องขนาดเล็ก (laparoscope) และเครื่องมือเล็กๆ อื่นๆ เข้าไปในแผลเหล่านี้เพื่อผ่าตัดเอาส่วนหนึ่งของกระเพาะออกประมาณ 70 % ออกทางรูแผลที่เจาะไว้ และเย็บกระเพาะอาหาร จะทำให้ได้กระเพาะอาหารที่เล็กลง
รูปที่2. แสดงแผลผ่าตัดกระเพาะ แบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy
รูปที่3. แสดงการผ่าตัดกระเพาะด้วยกล้อง Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy
รูปที่4. แสดงกระเพาะอาหารที่ถูกตัดออกมา
- เย็บปิดแผลบริเวณหน้าท้อง 4 จุด
รูปที่5. แสดงการเย็บแผลผ่าตัดกระเพาะ แบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy
การดูแลหลังผ่าตัดกระเพาะ แบบ Minimal Invasive Sleeve Gastrectomy
-
อาจมีสายเดรน ระบายน้ำเล็กๆ เพื่อระบายของเหลวส่วนเกินออกไป
-
อาจมีสายสวนที่ระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ
-
งดออกกำลังกายและยกของหนัก อย่างน้อย 1 เดือน
-
ตัดไหมหลังผ่าตัด 7 วัน
-
ทานอาหารเหลว ประมาณ 4-6 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
-
เมื่อคุณรับประทานอาหารได้ปกติ สิ่งสำคัญคือต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพ เพื่อช่วยในการลดน้ำหนักอย่างต่อเนื่อง
-
กลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้ภายใน 2-4 สัปดาห์หลังการผ่าตัดกระเพาะ
-
มาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
-
ออกกำลังกายเมื่อรู้สึกดีขึ้น มีโปรแกรมการออกกำลังกาย สำหรับผผ่าตัดกระเพาะโดยเฉพาะ
-
ต้องเข้ามารับการดูแลเรื่องโภชนาการจากนักโภชนาต่อหลังผ่าตัด 1 เดือน
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังผ่าตัดกระเพาะ
-
มีเลือดออก
-
มีการติดเชื้อ
-
กระเพาะอาหารใหม่รั่ว (tear in bowels)
-
ต้องทำการผ่าตัดใหม่
-
ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ
หลังผ่าตัด อาจมีภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ อาจมีเลือดอุดตันที่เท้า ปอด หัวใจ, เกิดโรคปอดบวม, ทางเดินปัสสาวะอักเสบ คล้ายการทำผ่าตัดทั่วไป แต่ภาวะแทรกซ้อนอาจน้อยลงหากการทำผ่าตัดลดน้ำหนักทำในสถานพยาบาล/ศูนย์ที่มีแพทย์, ทีมที่เชี่ยวชาญ และมีเครื่องมือแพทย์พร้อม มีการติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัดสม่ำเสมอ โดยมีทีม รวมทั้งพยาบาลผู้ดูแลที่ได้รับการฝึกฝนในการดูแลผู้ป่วยประเภทนี้เป็นพิเศษ รวมทั้งแพทย์ดมยามีความเชี่ยวชาญในการดมยาผู้ป่วยอ้วนเป็นอย่างดี
ผลลัพธ์หลังการผ่าตัดกระเพาะ
ผลดีของการผ่าตัดกระเพาะ คือน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ลดโรคที่เกี่ยวกับโรคอ้วน และอันตรายจากโรคอ้วนได้ ทำให้ร่างกายดูดี ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นอนกรน ทำให้ใช้ยาลดน้ำหนักลดลงหรือไม่ต้องใช้ยาลดน้ำหนักอีก รวมถึงลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ มะเร็งได้
ประโยชน์ของการผ่าตัดกระเพาะ
-
ทานอาหารได้น้อยลง ประหยัดค่าใช้จ่าย
-
มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง
-
ลดโรคที่เกิดจากโรคอ้วน
-
ใส่เสื้อผ้าง่ายขึ้น มีความมั่นใจ
คำถามที่พบบ่อย
1. หากผ่าตัดกระเพาะอาหาร สามารถกลับมาอ้วนได้อีกหรือไม่
การผ่าตัดกระเพาะ ตามปกติแล้ว โอกาสที่จะกลับมาอ้วนอีกน้อยมาก เพราะ รับประทานอาหารได้น้อยลง ปริมาณกระเพาะเล็กลง แต่ถ้าน้ำหนักลดลงแล้ว แต่ กลับมาอ้วนขึ้นอีก ต้องตรวจหาสาเหตโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่น Gut Hormone ทำให้ หิวบ่อยขึ้น ไม่รู้สึกอิ่ม
2. การผ่าตัดกระเพาะอาหาร ได้ผลจริงหรือไม่
การผ่าตัดกระเพาะอาหาร ช่วยลดน้ำหนักได้จริง ในระยะแรกน้ำหนักจะลดเยอะมาก ต่อมาจะลดเป็นสัดส่วนที่น้อยลง น้ำหนักจะคงที่ภายใน 1-2 ปีหลังผ่าตัด แต่ควรเป็นทางเลือกสุดท้ายของการลดน้ำหนัก
3. การผ่าตัดกระเพาะมีความเสี่ยงหรือไม่
มีความเสี่ยงเนื่องจาก
-
เป็นการผ่าตัดเอาเนื้อกระเพาะออก ไม่สามารถเอากลับคืนมาได้
-
ระยะยาวมีความเสี่ยงกับการขาดวิตามิน เพราะ กระเพาะอาหารสร้างวิตามินบางชนิด
-
มีความเสี่ยงจากการผ่าตัดเช่น ยาสลบ แผลเย็บไม่ติด ขึ้นกับความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัด
แนวทางการรับประทานอาหารหลังจากการผ่าตัดกระเพาะอาหารที่ควรรับประทานหลังการ ผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก
1-7 หลังการผ่าตัด
ทานอาหารเหลว หรือเครื่องดื่มที่มีลักษณะเหลวใส ไม่มีกากใย ไม่มีแก๊ส และไม่ใส่น้ำตาล
-
น้ำสมุนไพร (ไม่ใส่น้ำตาล)
-
น้ำซุปใส
-
น้ำผลไม้ที่ผ่านการกรองกากใย และไม่ใส่น้ำตาล
1 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
เริ่มทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีเนื้อ หรือมีความข้นเพิ่มมากขึ้นได้ แต่ต้องมีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และไม่มีกากใย รวมถึงไม่ใส่น้ำตาล
-
ซุปข้น
-
นมจืด หรือนมพร่องมันเนย
-
น้ำเต้าหู้ ไม่ใส่น้ำตาล
-
โยเกิร์ตรสธรรมชาติ
2 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
เริ่มรับประทานอาหารอ่อน หรือย่อยง่าย คล้ายกับอาหารเด็กได้แล้ว
-
ไข่ตุ๋นหมูบด
-
ปลานึ่ง
-
เกี๊ยวน้ำ
-
แกงจืดเต้าหู้ไข่
-
ข้าวต้มปลา
-
โจ๊กหมูบด
4 สัปดาห์หลังการผ่าตัด
หากสามารถทานอาหารอ่อนได้ดี สามารถเริ่มทดแทนด้วยอาหารธรรมดาที่มีเนื้อหยาบข้นตามลำดับ แต่ถ้ายังมีอาการคลื่นไส้ ยังไม่สามารถรับประทานอาหารในระยะนี้ได้ ก็ยังสามารถรับประทารอาหารในระยะที่ 3 ต่อไปได้ หรือรับประทานระยะที่ 4 แล้วเกิดคลื่นไส้ ก็สามารถกลับไปรับประทานระยะที่ 3 ก็ได้เช่นกัน เนื่องจากผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้าในระยะที่ 4 ตามกำหนดที่แนะนำตามเวลา แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ควรเป็นอาหารธรรมดาที่ปรุงสุก โดยเน้นโปรตีนสูงเป็นหลัก สามารถเริ่มรับประทานผักนิ่มๆ ได้ ผลไม้ควรเรื่มทานเป็นผลไม้ปอกเปลือกในปริมาณน้อยๆ
-
ไก่/หมูอบซอส
-
เสต็กปลา
-
ลาบหมู หรือไก่ แบบไม่เผ็ด
-
ไข่ยัดไส้
1 เดือนหลัง ผ่าตัดกระเพาะ
โดยส่วนใหญ่แล้วจะสามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพอาหารที่มีโปรตีนสูง ไม่มัน ไม่ใส่น้ำตาล หรือหวานน้อย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดอย่างช้าๆ สำหรับผัก และผลไม้สามารถทานได้ตามปกติ เพื่อควบคุมพลังงานส่วนเกิน และน้ำหนักตัว อาจจะรับประทานวิตามิน และแร่ธาตุเสริมตามคำแนะนำของแพทย์
ทำไมต้องผ่าตัดกระเพาะอาหารที่โรงพยาบาลศัลยกรรมกมล
-
แพทย์มีผ่าตัดกระเพาะที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญสูง
-
มีทีมดูแลรักษา ก่อน และหลังการผ่าตัดกระเพาะ
-
มีเครี่องมือผ่าตัดด้วยกล้อง ที่ทันสมัย มีทีมที่มีประสบการณ์ช่วยการผ่าตัดสูง
-
ห้องผ่าตัดทันสมัย เพียบพร้อม
-
ห้องพักผู้ป่วยเป็นส่วนตัว สะดวก สบาย สะอาด
-
โรงพยาบาล มาตรฐาน ระดับสากล JCI