• โทร: 02 559 0155

ผ่าตัดแก้ไขหน้าอก / แก้นม

 

แก้หน้าอก ผ่าตัดหน้าอกแก้ไขรูปทรงให้สวยงาม

 

         การผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนม ที่สวยงามจะขึ้นอยู่กับความสมดุลของขนาด รูปทรง ตำแหน่งของหัวนม และความสมส่วนของสรีระร่างกาย อย่างไรก็ตาม การศัลยกรรมเสริมหน้าอกก็มีข้อจำกัดจากหลายสาเหตุเช่น ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อและผิวหนัง หรือของ โครงสร้างหน้าอกในแต่คนไม่เหมือนกัน  ขณะเดียวกันการเลือกของศัลยแพทย์ตกแต่งที่มีทักษะและประสบการณ์ที่ไม่ดีพอ ก็อาจทำให้การเสริมหน้าอกครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวัง การผ่าตัดเพื่อแก้ไขหน้าอกที่เสริมมาแล้วจึงเป็นสิ่งจำเป็น

 

         การผ่าตัดแก้ไขหน้าอก เป็นการแก้ไขเพื่อปรับรูปทรง ที่เป็นผลจากการผ่าตัดเสริมหน้าอกครั้งก่อน ปัญหาที่ต้องแก้ไขมีหลายสาเหตุ เช่น การมีขนาดและรูปทรงที่ผิดปกติ เพื่อให้ได้รูปทรงใหม่ที่สวยงามดูดีขึ้น

 

 

 

ทำไมต้องแก้ไขหน้าอกที่เคยเสริมมาแล้ว ?

 

          หน้าอกที่เสริมมาแล้วถ้าสวยงามดีคงไม่มีใครอยากแก้ไข  แต่เป็นเพราะหน้าอกที่ได้ไม่สวยงาม รวมถึงความผิดปกติของรูปทรงและตำแหน่งที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ การผ่าตัดแก้ไขหน้าอกของโรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล เราจะมาวิเคราะห์ถึงปัญหาและความต้องการของคนไข้ แล้วเลือกแนวทางในการแก้ไขที่คาดว่าจะได้ผลการผ่าตัดจะดีที่สุดสำหรับคนไข้แต่ละท่าน 

 

 

 

ปัญหาหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก ที่ทำให้ต้องแก้ไขมีดังนี้

 

          1. ปัญหาขนาดเต้านม  (Size problems)

 

          บางคนอาจจะต้องการเปลี่ยนแปลงขนาดเต้านมให้ใหญ่ขึ้น หรือเล็กลงกว่าที่เคยเสริมมาครั้งแรก กรณีที่ ต้องการแก้ไขเปลี่ยนขนาดเต้านมเทียมจากที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลง การแก้ไขจะต้องคำนึงถึงผิวหนังที่เหลือและจะทำให้เต้านมห้อยตกลงมากว่าปกติ ในกรณีนี้ศัลยแพทย์อาจจะพิจารณาแก้ไขเสริมเต้านมร่วมกับการยกกระชับหน้าอก 

 

          ในกรณีที่ผู้หญิงบางท่านต้องการแก้ไขหน้าอกโดยเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น ศัลยแพทย์จะพิจารณาตำแหน่งที่วางของถุงเต้านมเดิม ถ้าถุงเต้านมเดิมวางอยู่ใต้กล้ามเนื้อ ศัลยแพทย์ก็จะใช้ตำแหน่งใต้กล้ามเนื้อนี้ ขยายโพรงเดิมเพื่อใส่เต้านมเทียมอันใหม่ แต่ถ้าเต้านมเทียมอันเดิม อยู่ใต้เนื้อนมศัลยแพทย์จะเปลี่ยนตำแหน่งที่วางถุงเต้านมเทียมใหม่ให้มาอยู่ใต้กล้ามเนื้อแทน พร้อมกับเลาะเอาเนื้อเยื้อพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมเดิมออกให้หมด เพื่อป้องกันการเกิดนมสองชั้น (Bubble effect) 

 

 

 

          2. ปัญหาถุงเต้านมเทียมแตกหรือรั่ว (Leakage and Ruptured)

 

           ถุงเต้านมเทียมที่เป็นวัสดุทางการแพทย์ก็เหมือนกับผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป ที่อาจะเกิดการแตกและรั่วได้ ซึ่งเกิดในกรณีที่ถุงเต้านมเทียมเป็นถุงน้ำเกลือ บริเวรตำแหน่งวาวล์มีโอกาสรั่วซึมได้สูงจะทำให้น้ำเกลือค่อยๆซึมออกจากถุง ทำให้ขนาดเต้านมข้างที่มีการรั่วซึมจะแฟบลง ทำให้ขนาดของเต้านมสองข้างไม่เท่ากัน ต้องรีบผ่าตัดเปลี่ยนถุงเต้านมเทียมทันที ในกรณีที่มีการแตกของถุงเต้านมซิลิโคน จะดูยากมากเพราะซิลิโคนที่ซึมออกมาจะอยู่ในเนื้อเยื้อที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมอยู่ ถ้าสงสัยความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะต้องตรวจสอบจาก เครื่องอัลตราซาวน์ เครื่องตรวจเต้านม (Mammogram ) หรือจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็จะมีการเอาถุงเต้านมเทียมออก แล้วใส่เต้านมเทียมอันใหม่เข้าไปแทน 

 

 

 

          3. ปัญหาเกิดพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว (Capsular Contracture)

 

          ปัญหาพังผืดที่ห่อหุ้มเต้านมเทียม จากปฏิกริยาของร่างกายที่สร้างเนื้อเยื้อออกมาห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย   เนื้อเยื้อพังผืดจะมีการพัฒนาเพิ่มความหนา เหนียว แข็ง แล้วพัฒนาไปสู่การรัดถุงเต้านมเทียมทำให้ถุงเต้านมเทียมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้เกิดเต้านมผิดรูป แข็ง และเจ็บ การผ่าตัดแก้ไขพังผืดห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว   โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเอาเนื้อเยื้อพังผืดรอบๆถุงเต้านมเทียมออกให้หมด แล้วเปลี่ยนตำแหน่งวางเต้านมเทียมใหม่ (อ่านต่อ)

 

ปัญหาเกิดพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว (Capsular Contracture)

 

รูปที่ 1. ปัญหาเกิดพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว

 

 

 

          4. ปัญหานมลอย/ นมสูง (Upward position Implant)

 

          เกิดจากการเสริมเต้านมแล้ว  ถุงเต้านมเทียมลอยสูงกว่าตำแหน่งปกติ จึงทำให้คนไข้ต้องการที่แก้ไขให้ตำแหน่งของเต้านมเทียมต่ำลงมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ในกรณีนี้ศัลยแพทย์จะทำการตัดหรือเลาะเอาพังผืดออก และขยายโพรงให้ต่ำลงมา โดยอาศัยตำแหน่งของหัวนมเป็นจุดศูนย์กลางของถุงเต้านมเทียมอันใหม่ 

 

นมลอย/ นมสูง(Upward position Implant)

 

รูปที่ 2. ปัญหานมลอย/ นมสูง

 

 

 

          5. ปัญหานมห่าง (Cleavage Breast)

 

          หลังจากผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนมมาแล้ว  ทำให้มองเห็นว่าเต้านมสองข้างอยู่ห่างกันมากเกินไป การผ่าตัดแก้ไขนมห่าง  ทำได้โดยการเปิดแผลใต้ราวนมแล้วเปิดขยายโพรงเข้าสู่แนวกึ่งกลางของทรวงอกมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เย็บลดขนาดความกว้างด้านข้างของโพรงเดิม เพื่อขยับแนวตำแหน่งของเต้านมเทียมใหม่ เข้าสู่แนวเส้นกลางหน้าอกมากขึ้น ผลการผ่าตัดจะทำให้ร่องหน้าอกแคบลงกว่าเดิม

 

 

 

          6. ปัญหานมตก (Bottoming out of breast)

 

          หลังผ่าตัดเสริมนม ถุงเต้านมเทียมอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับตำแหน่งของหัวนม ซึ่งเป็นผลมาจากการผ่าตัดที่สร้างโพรงใส่ถุงเต้านมเทียมต่ำมากเกินไป หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหน้าอกมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นน้อย ทำให้ระดับถุงเต้านมเทียมต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็นและมีหัวนมชี้ขึ้น ในกรณีนี้ต้องเปิดแผลบริเวณใต้ราวนมเพื่อเย็บกระชับกล้ามเนื้อด้านในขอบล่างของเต้านมให้สูงขึ้น เพื่อให้ตำแหน่งเต้านมเทียมที่ใส่เข้าไปใหม่สูงขึ้นได้ระดับเหมาะสมกับตำแหน่งหัวนม

 

นมตก (Bottoming out of breast)นมตก (Bottoming out of breast)

 

รูปที่ 3. ปัญหานมตก

 

 

 

          7. ปัญหาเนื้อนมเป็นริ้วๆ (Rippling)

 

          หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนม  เนื้อนมเป็นริ้วๆ สามารถมองเห็นได้ชัด ซึ่งเกิดจากคนที่มีผิวหนังและกล้ามเนื้อบาง การแก้ไขทำได้ 2 วิธีโดย การฉีดไขมันเสริมเข้าไปบริเวณที่เป็น เพื่อเพิ่มปริมาณความหนาของเนื้อเยื้อใต้ผิวหนังนั้น อีกวิธีหนึ่งโดยใช้วัสดุที่เรียกว่า เนื้อเยื้อเทียม หรือ Acellular Dermal Matrix (ADM) ซึ่งเป็นวัสดุที่ทำจากผิวหนังมนุษย์แล้วไปย่อยสลายโปรตีนออก นำไปวางบริเวณที่ต้องการแล้วจะมีเนื้อเยื้อเติบโตขึ้นมาเสริมความหนาตรงบริเวณที่วางเนื้อเยื้อเทียม(ADM)ไว้ เพื่อเติมเต็มเนื้อเยื้อในบริเวณนั้น 

 

 

 

          8. ปัญหานมแฝด ( Symmastia Uniboob)

 

          นมแฝด หรือ นมชิดกัน หลังจากการผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนม อาจจะมีลักษณะที่เต้านมชิดกันมากเกินไป แทบไม่มีร่องอก ขณะเดียวกันตำแหน่งของหัวนมก็ชี้ออกด้านข้าง การผ่าตัดแก้ไขทำโดยเปิดแผลใต้ราวนมแล้วขยายโพรงให้ออกไปด้านข้างมากขึ้น แล้วเย็บแก้ไขกล้ามเนื้อด้านในร่องหน้าอก  ทำให้หน้าอกมีร่องกว้างขึ้น

 

นมแฝด ( Symmastia Uniboob)

 

รูปที่ 3. ปัญหานมแฝดหรือ นมชิดกัน

 

 

 

          9. ถอดซิลิโคนเต้านมออกเนื่องจากกังวลการเป็นมะเร็งชนิด BIA-ALCL (Breast implant Associated - Anaplastic Large Cell Lymphoma)

 

          เป็นมะเร็งที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของคนไข้เอง แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกับมะเร็งเต้านม โดยทั่วไปจะพบมีอาการหลังจากการเสริมเต้านมประมาณ 1ปีขึ้นไป บางท่านอาจพบอาการหลังจากเสริมไปได้ 8-10ปี อาการดังกล่าวได้แก่ หน้าอกใหญ่ขึ้น,เจ็บ,หน้าอกไม่เท่ากัน,มีก้อนที่ต่อมน้ำเหลือหรือใต้รักแร้,ผิวหนังแดง,นมแข็ง หรือรู้สึกว่ามีน้ำเหลืองอยู่ในเต้านมเยอะ ถ้าหากมีอาการดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งให้รีบพบแพทย์ทันที ให้รีบทำการวินิจฉัย ว่าเป็น BIA-ALCLหรือไม่ ถ้าพบว่าใช่ ให้เข้าสู่ขบวนการรักษา จะต้องถอดเต้านมเทียมออกพร้อมกับเอาเนื้อเยื้อที่หุ้มเต้านมเทียมออกให้หมดแล้วส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษามะเร็งต่อไป

 

 

 

รีวิวแก้ไขหน้าอก ที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล

 

คุณน้ำเย็น พัสวี

 

แก้หน้าอก ผ่าตัดแก้ไขนมแข็ง

 

         คุณน้ำเย็นเสริมหน้าอกมา 10 กว่าปี มีปัญหาเรื่องนมแข็ง และซิลิโคนลอย ตัดสินใจผ่าตัดแก้ไขหน้าอกใหม่ให้นิ่ม และใหญ่ขึ้น 

 

 

 

 

 

คุณแคนดี้ กุลชญา

 

แก้หน้าอก ลดขนาดหน้าอก

 

         ก่อนหน้านี่แคนดี้เป็นนางงาม จึงต้องการหน้าอกที่มีขนาดใหญ่ให้เหมาะสมกับ ขนาดของ อก เอว  สะโพกแบบนางงาม  หลังจากนั้นแคนดี้ได้เข้าสู่อาชีพนางแบบ จึงต้องการหน้าอกเล็ก ๆ เพื่อให้ใส่เสื้อผ้าเดินแบบให้สวย ๆ   จึงต้องการผ่าตัดแก้ไขหน้าอกให้เล็กลง เพื่อให้เหมาะกับอาชีพนางแบบ 

 

 

 

 

 

คุณพลอย พีรชาดา

 

แก้หน้าอก ผ่าตัดแก้ไขนมตก

 

         ด้วยประสบการณ์ที่ยังน้อย   ไม่เคยใส่ใจเลยว่า การเสริมหน้าอกต้องใช้ เต้านมเทียมที่ผ่านการรับรองของ อย.( องค์การอาหารและยา) เท่านั้น  เพื่อติดตามผลข้างเคิยงหลังการผ่าตัด และเรียกคืนเมื่อเต้านมเทียมมีปัญหา  

 

         หลังทำมีปัญหาหลายอย่าง เช่น นมตก หัวนมชี้ขึ้น  หน้าอกเป็นริ้ว และ รูปทรงเต้านมผิดปกติ  ซึ่งเกิดจากซิลิโคนที่พับ และ การวางตำแหน่งเต้านมที่ต่ำเกินไป ดังรูป  น้องพลอยไม่มั่นใจอย่างแรง ที่ใส่เสื้อผ้าสวยๆ เปิดโชว์เนินอก   จึงต้องการผ่าตัดแก้ไขหน้าอกใหม่ ให้มีทรงสวยและเลือกใช้ เต้านมเทียม ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของ อย.

 

         ตอนนี้ น้องพลอยมั่นใจแล้วค่ะ เนินอกของหนูสวยอูมอิ่ม  ไม่เป็นริ้ว พร้อมใส่ชุดสวยๆเปิดอกแล้วค่ะ

 

 

 

 

 

เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขหน้าอกที่ทางโรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล 

 

1.เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขนมแตก หรือ ถุงเต้านมเทียมแตกหรือรั่ว (Leakage and Ruptured)

 

         เปิดเลาะผังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมทั้งสองข้าง เปลี่ยนชั้นวางเต้านมให้เป็นชั้นกล้ามเนื้อ ทำโพรงใส่ถุงเต้านมใหม่ จัดรูปทรงให้สวยงาม

 

เทคนิคแก้หน้าอก แก้ไขนมแตก

 

 

 

2.เทคนิคผ่าตัดแก้ไขพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว (Capsular Contracture)

 

         เปิดเลาะผังผืดออกให้หมด ผังผืดรัดเต้านมจะเหนียว และแข็งมาก ปรับแต่งโพรงเต้านมใหม่ จัดรูปทรงให้สวยงาม

 

เทคนิคแก้หน้าอก ผ่าตัดแก้ไขนมแข็ง

 

 

 

3.เทคนิคผ่าตัดแก้ไขนมลอย/ นมสูง (Upward position Implant)

 

         เปิดแผลใต้ราวนม ทำการเลาะผังผืดถุงเต้านมออก สร้างโพรงใส่เต้านมให้ต่ำลงมาโดยมีหัวนมเป็นจุดศูนย์กลาง จัดรูปทรง แต่งทรงให้สวยงาม 

 

เทคนิคแก้หน้าอก ผ่าตัดแก้ไขนมลอย

 

 

 

4.เทคนิคผ่าตัดแก้ไขนมห่าง (Cleavage Breast) 

 

         เปิดแผลใต้ราวนม เปิดเลาะผังผืดออกให้หมด สร้างโพรงใหม่ใต้กล้ามเนื้อให้ชิดกันมากขึ้น โดยคำนึงถึงตำแหน่งหัวนมเป็นศูนย์กลาง จัดรูปทรง แต่งทรงให้สวยงาม 

 

เทคนิคแก้หน้าอก ผ่าตัดแก้ไขนมห่าง

 

 

 

5.เทคนิคผ่าตัดแก้ไขนมตก (Bottoming out of breast)

 

         เปิดแผลใต้ราวนม เปิดเลาะผังผืดออกให้หมด เปลี่ยนชั้นเป็นใต้กล้ามเนื้อ สร้างโพรงใส่เต้านมให้สูงขึ้นเย็บกล้ามเนื้อขึ้น จัดรูปทรง แต่งทรงให้สวยงาม 

 

เทคนิคแก้หน้าอก ผ่าตัดแก้ไขนมตก

 

 

 

6.เทคนิคผ่าตัดแก้ไขนมแฝด ( Symmastia Uniboob)

 

         เปิดแผลใต้กล้ามเนื้อ เปิดเลาะผังผืดออกให้หมด เย็บกล้ามเนื้อระหว่างร่องอกให้กว้างกว่าเดิม ขยายโพรวด้านข้างออก ให้หัวนมเป็นจุดศูนย์กลาง ตกแต่งให้สวยงาม 

 

เทคนิคแก้หน้าอก ผ่าตัดแก้ไขนมแฝด

 

 

 

ผู้ที่เหมาะสมจะผ่าตัดแก้ไขหน้าอก

 

  • มีความกังวลจาก ขนาด รูปทรงของผลการผ่าตัดเสริมหน้าอกที่ผ่านมา
  • นมแข็งผิดรูป
  • มีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง
  • มีความคาดหวังอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
  • สุขภาพจิตที่มั่นคง เพราะการผ่าตัดศัลยกรรมอาจส่งผลกระทบต่อสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยได้
  • ไม่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์

 

 

 

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก

 

  1. ปรึกษาศัลยแพทย์ถึงสิ่งที่คาดหวัง และผลการผ่าตัดที่จะเป็นไปได้ ซึ่งคนไข้จะต้องระลึกเสมอว่า การผ่าตัดแก้ไขจะซับซ้อนและยุ่งยากกว่าการผ่าตัดครั้งแรก  การผ่าตัดแก้ไขมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสาเหตุและความต้องการของคนไข้ แพทย์จะอธิบายตำแหน่งของแผล ขนาด รูปทรงอย่างละเอียด และทำการตรวจสุขภาพ ตรวจร่างกาย  Chest x ray, ตรวจเลือด  ตรวจ  EKG, Stress test ถ้าอายุเกิน 40 ปี เพื่อผ่าตัดโดยการวางยาสลบ
  2. หยุดการสูบบุหรี่ ก่อนและหลังผ่าตัด 2 อาทิตย์
  3. หยุดยา ที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดเช่น แอสไพริน หรือวิตามินบางชนิด สมุนไพรก่อนการผ่าตัด  2 อาทิตย์

 

 

 

ขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก

 

          พึงระลึกเสมอว่าการผ่าตัดครั้งที่สองจะยากกว่าการผ่าตัดครั้งแรก ด้วยหลายสาเหตุอย่างเช่น ความหนาและเหนียวของเนื้อเยื้อที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียม ในคนไข้แต่ละคนที่แตกต่างกันไป การเอาเนื้อเยื้อส่วนนี้ออกอาจจะทำให้เนื้อนมบางส่วนหายไป มันจะเป็นนการยากที่จะคาดเดาผลลัพธ์การผ่าตัด รวมถึงความยืดหยุ่นของเนื้อเยื้อและกล้ามเนื้อในคนไข้แต่ละคน จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของศัลยแพทย์ที่ทำการแก้ไขหน้าอกให้กลับมาสวยงาม ดูดีขึ้น โดยมีขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขเสริมเต้านมมีดังนี้

 

  1. คนไข้ดมยาสลบ
  2. วิธีการผ่าตัดแก้ไขหน้าอกขึ้นอยู่กับชนิดของสาเหตุและปัญหา อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดต้องเปลี่ยนถุงเต้านมเทียมใหม่ทุกครั้ง บางกรณี อาจจะมีการเอาเนื้อเยื้อที่ห่อหุ้มเต้านมเทียมออก มีการเปลี่ยนขนาดรูปทรงและตำแหน่งของโพรงเต้านมเทียมหรือบางกรณีอาจจะมีการผ่าตัดยกกระชับด้วยในเวลาเดียวกัน
  3. เย็บปิดแผลภายในด้วยไหมละลาย
  4. เย็บปิดแผลที่ผิวหนังแล้วรอดูผล

 

ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 1-4 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปัญหาความซับซ้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งแรก

 

 

 

การดูแลแผลหลังผ่าตัดแก้ไขหน้าอก

 

การดูแลแผลหลังผ่าตัดแก้ไขเสริมเต้านม จะมีการดูแลแผลคล้ายๆกับการผ่าตัดเสริมเต้านม แต่จะมีความหลากหลายกว่าดังนี้

 

  • รักษาความสะอาด ทำแผลให้แห้ง 2-3 วัน หลังผ่าตัด
  • อาจจะใช้เจลเย็นประคบเพื่อลดการบวม
  • เวลานอนให้ยกตัวขึ้นเล็กน้อยเพื่อช่วยอาการช้ำบวม
  • รับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
  • ตัดไหม 7 วันหลังผ่าตัด
  • พบแพทย์ทุกครั้งที่มีการนัดหมาย
  • สวมเสื้อรัดหน้าอกเพื่อยกกระชับรักษาตำแหน่งของเต้านม ช่วยลดอาการบวม และป้องกันการสะสมของน้ำเหลือง
  • ห้ามยกของหนักใน 6 อาทิตย์แรกหลังผ่าตัด
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัง 2 อาทิตย์แรก

 

 

 

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก

 

ทุกๆการผ่าตัดอาจจะมีปัญหาภาวะแทรก การผ่าตัดแก้ไขเต้านมอาจจะเกิดปัญหาภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน ดังนี้

 

  • แผลเป็นที่มองเห็นชัด เช่น แผลเป็นนูน แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid)
  • เลือดออก (Bleeding)
  • หน้าอกเขียวช้ำ (Bruising)
  • อาการปวดหลังการผ่าตัด (Pain)
  • แผลสมานตัวช้า (Poor healing)
  • เต้านมสองข้างอาจมีขนาด ตำแหน่ง และรูปทรง ไม่เท่ากัน
  • ภาวะติดเชื้อ ให้สังเกตุว่าถ้ามีอาการร้อน แดง บวมที่เต้านมจนอาจจะนำไปสู่การมีไข้ อาจจะเกิดการติดเชื้อให้รีบพบแพทย์ทันที (Infection)
  • ความรู้สึกบริเวณหัวนมเปลี่ยนแปลงหรือชา  (Decreased or Lost Sensation)
  • ภาวะพังผืด (Capsular contracture) ทำให้นมแข็ง ผิดรูปร่าง และต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขได้
  • ซิลิโคนเหลว หรือน้ำเกลือ แตกรั่วออกจากถุงซิลิโคน
  • การย่นตัวเป็นคลื่นของผิวหนังที่ขอบของเต้านม
  • ปัญหาที่เกิดจากเต้านมเทียม (Implant Failure) เช่นเต้านม,ร่างกายไม่รับเต้านมเทียมที่ใส่เข้าไป
  • ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ (Risk from anesthesia)

 

 

 

การพักฟื้นหลังการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก

 

          การพักฟื้นจะคล้ายกับการผ่าตัดเสริมเต้านมครั้งแรก ระยะเวลาในการพักฟื้นอาจจะสั้นกว่า ในกรณีที่ ถอดเต้านมเทียมอย่างเดียว ในบางกรณี อาจจะใช้เวลาในการพักฟื้นนานขึ้น เช่น คนที่ผ่าตัดแก้ไขหน้าอกและยกกระชับด้วย การพักฟื้นขึ้นอยู่กับชนิดของการแก้ไขหน้าอก อาการชาที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัดอาจจะกลับมา แต่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป งดการออกกำลังกายประมาณ 6 อาทิตย์

 

 

 

ผ่าตัดแก้ไขหน้าอกที่ไหนดี มาที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล

 

พยาบาลต้อนรับผู้ต้องการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก
โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลแก้ไขหน้าอก ให้มีรูปทรงที่สวยงาม
ห้องพักหลังผ่าตัดแก้ไขหน้าอก
ห้องผ่าตัดแก้ไขหน้าอก

 

  1. ได้รูปทรงหน้าอกที่แก้ไข สวยงาม อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสมดุลของตำแหน่งของหัวนม เนินหน้าอกรวมถึงความกว้างของทรวงอกให้ได้ขนาด และรูปทรงที่เหมาะกับรูปร่างของแต่ละบุคคล
  2. หน้าอกที่ทำการแก้ไข สามารถแกว่งไกวเป็นธรรมชาติ ตามการเคลื่อนไหวของสรีระในการเดิน การวิ่ง หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้มีเสน่ห์น่าชวนมอง
  3. ศัลยแพทย์มีความเชี่ยวชาญ และความชำนาญสูง สามารถแก้ไขหน้าอกที่มีปัญหาต่าง ๆ ได้
  4. โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลมีข้อกำหนดเลือกใช้ ถุงเต้านมเทียมที่ผ่านการรับรอง ขององค์การอาหารและยาในประเทศไทย และ สหรัฐอเมริกาเท่านั้น สามารถตรวจสอบถุงเต้านมเทียมได้ทุกชิ้น เราจะเก็บประวัติการใช้ถุงเต้านมเทียมของคนไข้ วันที่ผ่าตัด รุ่น ขนาด ตามรหัสของวัสดุ สามารถแจ้งหรือติดต่อกับคนไข้ได้ทันทีที่ได้รับแจ้งปัญหาจากองค์การอาหารและยาของ ประเทศไทย หรือ สหรัฐอเมริกา
  5. สามารถแก้ไขหน้าอกที่ทำศัลยกรรมมาแล้วผิดรูปทรง แข็ง เนื่องจากมีพังผืด (Capsular Contracture) ห่อหุ้ม และรัดตัวถุงเต้านมเทียม จะต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัดดมยาสลบเปิดแผลใต้ราวนมเลาะพังผืดที่เหนียวและแข็งมากออกให้หมด ถ้าเอาออกไม่หมดหน้าอกจะกลับมาแข็งเหมือนเดิม  แล้วทำการจัดรูปทรงหน้าอกใหม่ให้สวยงาม
  6. ห้องผ่าตัดมาตรฐานโลก สะอาดปลอดเชื้อ มีระบบการหมุนเวียนของอากาศผ่านระบบกรองเชื้อโรค Hepa Filter ตามมาตรฐาน JCI  ลดโอกาสติดเชื้อจากระบบการหมุนเวียนของอากาศภายในห้องผ่าตัด โดยเฉพาะการติดเชื้อทางเดินหายใจเช่น Virus COVID-19
  7. มีเครื่องมือผ่าตัดที่ทันสมัย มีการผ่าตัดเสริมหน้าอก / ทำนม ด้วยกล้อง ทำให้แผลเล็ก ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นการฉีกขาดของแผลภายในได้ชัดเจน ทำให้แพทย์สามารถใช้เครื่องจี้หยุดเลือดได้รวดเร็ว แม่นยำจากการดูแผลภายในผ่านกล้อง
  8. มีระบบการจัดการ ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก /ทำนม ที่ห้องพักฟื้นมีทีมแพทย์พยาบาลคอยดูแล ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดหลังการผ่าตัด เช่น การคลื่นไส้อาเจียรหลังดมยาสลบ หรือ อาการปวดหลังผ่าตัดทำนม  การให้ยาแก้ปวดอย่างแรง ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดหลังการให้ยาด้วยวิสัญญีพยาบาล เมื่อผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนม ปลอดภัยดีแล้ว จึงสามารถส่งกลับห้องพักผู้ป่วยได้
  9. โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลมีนโยบาย ต้องตรวจร่างกายคนไข้ ก่อนทำการผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนมทุ กเคส โดยต้องตรวจเลือดทั่วไป และ เอกซเรย์ปอด ถ้ามีข้อสงสัยสามารถปรึกษาแพทย์อายุรกรรมได้ทันทีก่อนผ่าตัด เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ทราบว่าตัวเองมีโรคที่แอบแฝงอยู่แล้วอาจจะมีผลต่อการผ่าตัด และ การดมยาสลบ
  10. ทำการผ่าตัดแก้ไขหน้าอกด้วยศัลยแพทย์ตกแต่งเท่านั้น
  11. สถานที่สะอาด ปลอดภัย กว้างขวาง สามารถรักษา Social Distancingได้ดี มีมาตรฐานในการป้องกันการติดเชื้อและการระบาดของโรคทางเดินหายใจเช่น COVID 19 ได้เป็นอย่างดี  มีคัดกรองผู้ป่วยและมีห้องแยกผู้ป่วยแบบ Negative pressure เพื่อคัดแยกผู้ที่สงสัยว่าอาจจะป่วยออกจากผู้อื่นทันที

 

 

 

 

 

ข้อมูลโดย

 

 

 

 

 

 

รายชื่อศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก

 

 

 

 

 

 

ดูศัลยแพทย์ ทั้งหมด

 

 

 

 

 

 
 
 
 

World-Class Services