การสร้างอวัยวะเพศชายเป็นขั้นตอนสุดท้ายของ ของการแปลงเพศ หญิงเป็นชายที่ให้สมบูรณ์แบบ สามารถยืนปัสสาวะได้ เหมีอนเพศชาย หลังจากที่ผ่านการผ่าตัดหน้าอกให้แบบราบ ตัดมดลูกรังไข่ และปิดช่องคลอดแล้ว จากการสั่งสมประสบการณ์การผ่าตัดแปลงเพศหญิงเป็นชายของ โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล โดยมี นายแพทย์กมล พันธ์ศรีทุม เป็นหัวหน้าทีม ซึ่งทีมของเรามีความเชี่ยวชาญด้านจุลศัลยกรรม คือการผ่าตัดต่อเส้นเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศชายที่สร้างขึ้นใหม่ และต่อเชื่อมเส้นประสาทเพื่อสร้างความรู้สึกทางเพศได้ และมีการปรับแต่งรูปร่างให้สวยงามเหมือนธรรมชาติ
เป้าหมายของการสร้างอวัยวะเพศชาย
- มีความรู้สึก ขนาดและรูปทรงเหมือนธรรมชาติ สามารถร่วมเพศได้
- สามารถเชื่อมต่อท่อปัสสาวะถึงปลายอวัยวะเพศทีสร้างขึ้นใหม่ เพื่อยืนปัสสาวะได้
- สามารถออกัสซั่มได้
- เกิดแผลเป็นน้อยที่สุด
เทคนิคการสร้างอวัยวะเพศชาย (Phalloplasty) ทีมศัลยแพทย์ตกแต่ง โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล ได้ร่วมกันพัฒนาเทคนิค สั่งสมประสบการณ์ และความชำนาญในสร้างอวัยวะเพศชาย( Phalloplasty ) โดยมีให้เลือกอยู่ 3 เทคนิค คือ
1 . การสร้างอวัยวะเพศชายโดยย้ายเนื้อจากต้นขาด้านนอก (ALT- Phalloplasty )
( Anterior lateral thigh pedicled flap phalloplasty )
เป็นเทคนิคที่ได้รบความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะสามารถแก้ปัญหาแผลเป็นจากแขนที่ใหญ่มาก โดยต้องเตรียมสร้างท่อปัสสาวะที่ตำแหน่งต้นขาก่อนประมาณ 3 ถึง 6 เดือน แล้วจะทำการผ่าตัดย้ายเนื้อจากต้นขานอกที่เตรียมท่อปัสสาวะไว้แล้ว มาสร้างเป็นอวัยวะเพศชาย ด้วยวิธีจุลศัลยกรรม พร้อมกับต่อท่อปัสสาวะเดิมกับท่อปัสสาวะที่สร้างไว้แล้วให้ปัสสาวะออกมาที่ปลายอวัยวะเพศที่สร้างขึ้น ส่วนแผลที่เกิดจากการย้ายเนื้อที่ต้นขาจะเอาผิวหนังที่ต้นขาอีกด้านหนึ่งมาปิด
ข้อดี:
- มีการเตรียมสร้างท่อปัสสาวะโดยฝังไว้ที่ต้นขาก่อนการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศ จึงทำให้ลดปัญหาการตีบตันจากการเชื่อมต่อท่อปัสสาวะใหม่และเก่าได้ดี
- แผลเป็นที่ต้นขา สามารถสังเกตุเห็นได้ยาก
- สร้างอวัยวะเพศชายได้ขนาดที่ใหญ่พอดี
- สามารถใส่เครื่องมือที่ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ดีกว่าแบบอื่น เพราะมีเนื้อเยื่อมากกว่า
ข้อเสีย:
- ต้องใช้ Implant ที่ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว
- อาจมีขนาดอวัยวะเพศที่ใหญ่เกินไปในผู้ที่มีไขมันใต้ผิวหนัง บริเวณต้นขาหนากว่าปกติ
ขั้นตอนในการสร้างอวัยวะเพศชายแบบย้ายเนื้อจากต้นขา
1. ตัดมดลูกรังไข่ ปิดช่องคลอด และเตรียมย้ายตำแหน่งท่อปัสสาวะมาอยู่ที่หัวเหน่า โดยอาศัยเนื้อเยื่อจากช่องคลอด
2. ฝังท่อปัสสาวะที่ต้นขาที่จะเตรียมเอามาสร้างอวัยะเพศ โดยฝังท่อทิ้งไว้ 3 - 6 เดือน
3. ผ่าตัดจุลศัลยกรรมโดยต่อเส้นเลือด เส้นประสาท ย้ายเนื้อเยื่อจากต้นขาบริเวณที่ฝังท่อทิ้งไว้ เอามาสร้างให้เป็นอวัยวะเพศชาย แล้วต่อท่อเข้ากับท่อปัสสาวะที่เตรียมไว้หลายเดือนแล้วที่หัวเหน่า
4. ประมาณ 3 สัปดาห์ เอาสายปัสสาวะออก คนไข้สามารถปัสสาวะได้ตามปกติ
5. รอจนเส้นประสาทสามารถทำงานได้ดี แล้วใส่เครื่องมือที่ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว และสร้างอัณฑะ
รูปที่ 1 แสดงตำแหน่งที่ย้ายเนื้อ ( Donor )ไปสร้างอวัยวะเพศชาย
รูปที่ 2 แสดงการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายที่มาจากต้นขา
2. การสร้างอวัยวะเพศชาย โดยใช้เนื้อจากแขนด้านใน ( Radial forearm free- flap phalloplasty )
การสร้างอวัยวะเพศชายโดยย้ายเนื้อจากแขนด้านใน โดยใช้จุลศัลยกรรม และใส่เครื่องมือที่ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว ( Implant )
ข้อดี:
- ต่อเส้นเลือดเส้นประสาทง่ายไม่ซับซ้อน
- ท่อปัสสาวะหดตัวน้อย
ข้อเสีย
- เห็นแผลเป็น
- ต้องใส่เครื่องมือที่ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว
- อวัยวะเพศมีขนาดเล็กเนื้อบาง
- อวัยวะเพศมีขนาดเล็ก และเนื้อบาง เมื่อใส่เครื่องมือที่ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัวอาจอักเสบและทะลุง่าย
ขั้นตอน แสดงการสร้างอวัยวะเพศชายที่มาจากแขนด้านใน
1. ตัดมดลูกรังไข่ ปิดช่องคลอด และเตรียมสร้างตำแหน่งท่อปัสสาวะใหม่ที่หัวเหน่า และฝังท่อบริเวณท้องแขนเพื่อสร้างท่อปัสสาวะใหม่ ประมาณ 3 - 6 เดือน
2. สร้างอวัยวะเพศชายที่มาจากแขน โดยต่อเส้นเลือดเส้นประสาท พร้อมต่อท่อปัสสาวะจากหัวเหน่าให้ปัสสาวะออกที่ปลายอวัยวะเพศ
3. ใส่เครื่องมือที่ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว
รูปที่ 3 แสดง ตำแหน่งเนื้อแขนด้านในที่ย้ายไป
รูปที่ 4 แสดง ตำแหน่งเนื้อแขนด้านในที่ย้ายไป ถูกปิดด้วยผิวหนัง
การเชื่อมต่อท่อปัสสาวะจะทำพร้อมกับต่อเส้นเลือดเส้นประสาท หรือรอหลังจากนั้น 6เดือนก็ได้เพื่อลดอัตราการรั่วของท่อปัสสาวะ
3. การสร้างอวัยวะเพศชายที่มาจากน่องพร้อมกระดูก Fibular
โดยต้องเตรียมฝังท่อปัสสาวะที่น่องไว้ 6 เดือน ก่อน สร้างอวัยวะเพศชายที่มาจากน่องพร้อมกระดูก Fibular โดยการต่อเส้นเลือด เส้นประสาท แล้วต่อเชื่อมท่อปัสสาวะ แล้ว เอาผิวหนังมาปิดที่ ตำแหน่งที่เอาเนื้อน่องความรู้สึกที่อวัยวะเพศชายที่สร้างขึ้นใหม่จะกลับมาภายใน 6-12 เดือน
ข้อดี
- มีกระดูกช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัวตลอดเวลา
- สร้างอวัยวะเพศชายได้ขนาดที่ใหญ่พอดี
- แผลเป็นที่น่องสังเกตุได้ยากกว่าที่แขน
ข้อเสีย
- ใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า 6-8 อาทิตย์
- ต้องช่วยขยายท่อปัสสาวะที่อวัยวะเพศชายใหม่ ป้องกันการตีบตัน 1-2 ปี หลังผ่าตัด
- อวัยวะเพศมีขนาดเล็กกว่าแบบอื่น
ขั้นตอน แสดงอวัยวะเพศชายที่มาจากน่องพร้อมกระดูก Fibular
1. เตรียมฝังท่อปัสสาวะที่น่อง ตัดมดลูกรังไข่ ปิดช่องคลอด
2.สร้างอวัยวะเพศชายที่มาจากน่องพร้อมกระดูก Fibular โดยต่อเส้นเลือดเส้นประสาท
3.ต่อเชื่อมท่อปัสสาวะของใหม่ กับของเดิม
โดยแต่ละขั้นตอนใช้เวลาประมาณ 3 - 6 เดือน
รูปที่ 5 แสดง ตำแหน่งการเตรียมท่อปัสสาวะที่น่อง ใช้เวลาฝังท่อประมาณ 6 เดือน
รูปที่ 6 แสดง ตำแหน่งเนื้อน่องที่ย้ายไปสร้างอวัยวะเพศชาย
รูปที่ 7 ตำแหน่งกระดูก Fibula ที่ถูกตัดออกไป
การใส่ลูกอัณฑะ
การใส่ลูกอัณฑะไม่ใช่เพียงแค่ความสวยงามเท่านั้นแต่เป็นการแสดงความมั่นใจในความเป็นชายมากขึ้น โดยใส่ลูกอัณฑะแทนที่ไขมันของแคมนอก หลังจากการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายเรียบร้อยอยู่ตัวแล้ว
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดแปลงเพศ หญิงเป็นชาย
- ปรึกษาศัลยแพทย์ตกแต่งผู้เชี่ยวชาญ ก่อนการผ่าตัด เพื่อทราบข้อมูลในการเตรียมตัว ยาที่ใช้ประจำ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด เอ๊กเรย์ปอด ให้พร้อม
- ผ่านการพบกับจิตแพทย์ อย่างน้อย 2 ท่าน เพื่อ ความมั่นใจที่จะก้าวสู่เพศที่เราเลือกใหม่
- มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง พร้อมผ่าตัด และดมยาสลบ
- ต้องรับฮอร์โมนเพศชายมาไม่น้อยกว่า 1ปี
- หยุดฮอร์โมน ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2 อาทิตย์
- อายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป สามารถตัดสินใจให้ตัวเองผ่าตัดได้
- ต้องไม่อ้วนมากเกินไป BMI ต้องน้อยกว่า 24 เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนผ่าตัด
- งดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน หรือวิตามินบางชนิด เช่น วิตามิน อี
- วางแผนการหยุดงาน เตรียมจิตใจให้พร้อมรับการผ่าตัด และการดูแลแผลหลังผ่าตัด
การดูแลแผลหลังผ่าตัดการแปลงเพศ หญิงเป็นชาย
- หลีกเลี่ยงแรงกดทับขององคชาตใหม่ เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่ดี
- หลังผ่าตัดต้องยกองคชาตใหม่ ให้ตั้งไว้ตลอดเวลา เพื่อลดบวม
- ทำแผลให้สะอาด และแห้ง โดยแพทย์ 2-3 อาทิตย์หลังผ่าตัด
- ไม่ประคบน้ำแข็ง เลือดจะไม่ไปเลี้ยงแผล
- ยก สายสวนปัสสาวะขึ้น ป้องกันกระเพาะปัสสาวะฉีกขาด
- ถุงปัสสาวะต้องไม่มีน้ำปัสสาวะมาก เททิ้งบ่อยๆ
- การคัน การบวม มีเลือดในถุงปัสสาวะ ท้องผูก คลื่นไส้ เป็นอาการปกติหลังผ่าตัด 1-2 อาทิตย์แรก
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของ การแปลงเพศ หญิงเป็นชาย
- ความเสี่ยงจากการผ่าตัดท่อปัสสาวะ ได้แก่ ท่อปัสสาวะรั่ว (Urethral fistulas) ท่อปัสสาวะตีบ(Urethral stricture )
- เนื้อเยื่อที่ย้ายมาสร้างองคชาต ขาดเลือดไปเลี้ยงใช้การไม่ได้ หรือเสียหายบางส่วน (Flap failure and loss ) ต้องแก้ไขหรือผ่าตัดใหม่
- ผิวหนังที่ย้ายมาปิดตายบางส่วน ( Skin necrosis )
- แผลแยก ( Wound Rupture )
- มีเลือดออก Bleeding
- อาจจะสูญเสียความรู้สึกไป Loss of sensation
- แผลหายช้า (Prolong healing )
- แผลติดเชื้อ( infection)
- ปวดแผล( Pain )
- อาการบวม ช้ำ ( Bruising )
- แผลเป็น ( Scarring )
การพักฟื้นหลังการแปลงเพศ หญิงเป็นชาย
สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ 6-8 อาทิตย์หลังการผ่าตัด หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือยกของ 2-3 อาทิตย์แรกหลังผ่าตัด เดินช้าๆ จะมีสายสวนปัสสาวะคาอยู่ 2-3 อาทิตย์ หลังจากนั้น จะถอดสายสวน แล้วจะเริ่มปัสสาวะผ่านทางองคชาตใหม่ การแปลงเพศหญิงเป็นชาย จะยากและซับซ้อนกว่ามาก ระหว่างที่ทำ องคชาตอาจจะมีการแก้ไข ซ่อม ท่อปัสสาวะ จนสามารถใช้งานได้ก่อน แลัวจึงจะทำ ถุงอัณฑะเทียม และตกแต่งปลายองคชาต (Glansplasty) จนถึงการใส่ Implant การจะผ่าตัดให้มีความสมบรูณ์ทั้งรูปแบบ และความสวยงาม จะต้องรอทำทีละอย่าง แล้วรอแผลสมาน อย่างน้อย 3 -6 เดือน แล้วทำต่อไปจนครบ ได้องคชาตที่สวยงาม และใช้งานได้จริง ความรู้สึกที่ปลายประสาท ที่เกิดจากการต่อเส้นประสาทเชิ่อม คลิตอริสเดิม เส้นประสาทจะต่อเชื่อมกันได้ดีมีความรู้สึกเสียว ใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน หรืออาจจะนานถึง 2 ปีก็ได้